การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

103 สิทธิดูแลสุขภาพของผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคมมีข้อจากัดการใช้สิทธิอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการกาหนดสถานพยาบาลที่สามารถเข้ารับการรักษาการกาหนดค่าใช้จ่ายที่มี ลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายปี การจากัดเพดานในการรักษา การกาหนดขั้นตอนการบาบัด ทดแทนไตที่ไม่เป็นธรรม ทาให้ผู้ประกันตนไม่สามารถใช้สิทธิอันเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองได้ อย่างเต็มที่ งานวิจัยศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของ ข้าราชการ ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไป อัจฉริยา รสฉ่า (2557) ศึกษากรณีการรวมระบบ บริการสาธารณสุขของรัฐ ผลการศึกษาพบว่า ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เป็นระบบช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลแก่ข้าราชการ ข้าราชการบานาญ และบุคคล ในครอบครัว ระบบประกันสังคมเป็นระบบเพื่อช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ ผู้ประกันตน ส่วนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอกัน ในการได้รับบริการสาธารณสุขเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีมาตรฐานตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเจตนารมณ์ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนของระบบบริการ สาธารณสุขทั้งสามระบบมีความแตกต่างกันโดยรวมถึงขอบเขตของผู้มีสิทธิ สิทธิประโยชน์ที่จะ ได้รับและแหล่งที่มาของเงินทุนด้วย การที่พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 9 และมาตรา 10 บัญญัติให้รวมระบบบริการสาธารณสุขทั้งสามระบบ เข้าด้วยกัน โดยที่พระราชบัญญัติดังกล่าวยังคงรับรองสิทธิประโยชน์ที่ผู้มีสิทธิภายใต้ระบบ สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติที่เคยได้รับให้เป็นไปตามเดิม ดังนั้น เมื่อประชาชนทุกคนอยู่ภายใต้ระบบบริการ สาธารณสุขเดียวกันแล้วจึงอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านความเหลื่อมล้าและความไม่เป็นธรรมต่อผู้ อยู่ภายใต้ระบบบริการสาธารณสุขเดียวกัน จากงานวิจัยทั้งสี่ดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าต่างศึกษาถึงความเสมอภาคสิทธิประโยชน์ ของระบบหลักประกันสุขภาพระหว่างกลุ่มประชาชนที่มาจากหลายสถานะแต่มิได้ศึกษาถึง ระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์ของระบบประกันสังคมแต่อย่างใด ดังนั้น วรรณกรรมที่ ได้ทบทวนในบทนี้ ผู้วิจัยนาไปใช้เป็นข้อมูลเอกสารเพื่อประกอบการวิเคราะห์ตามประเด็นที่ กาหนดไว้ในการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนใน ระบบประกันสังคมต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3