การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
105 - ทฤษฎีว่าด้วยการบริการสาธารณะ - การพิทักษ์สิทธิประโยชน์และความต้องการของมนุษย์ - ทฤษฎีความยุติธรรมและความเสมอภาค - หลักสิทธิมนุษย์กับสิทธิสุขภาพ 3.1.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย ดังนี้ - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 - พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2558 - พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 - พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 - ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม - ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) - แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) - ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 - สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 3.1.3 กฎหมายระหว่างประเทศและข้อตกลงระหว่างประเทศ ดังนี้ - อนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Convention) ฉบับที่ 102 ค.ศ. 1952 ว่าด้วยการประกันสังคม - ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 - กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ. 1966 - กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1996 3.1.4 รูปแบบหลักประกันสุขภาพของต่างประเทศ ทั้งหมด 4 ประเทศ จาแนกตาม รูปแบบของหลักประกันสุขภาพ 2 รูปแบบ ได้แก่ - รูปแบบกองทุนเดียว คือ ราชอาณาจักรสวีเดน และสาธารณรัฐเกาหลี - รูปแบบหลายกองทุน คือ สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 3.2 การวิจัยภาคสนาม ( Field Research ) การวิจัยภาคสนามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงจากการรับบริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับระบบการส่งต่อการรักษาพยาบาลของ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนวิธีการในการเก็บข้อมูล ซึ่งการศึกษานี้กาหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก ( In-depth interviews) 3.2.1 สัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่ เกี่ยวกับระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมโดยใช้วิธีการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3