การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
107 ส่วนที่ 4 ปัญหาอื่นและข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ หรือข้อแนะนาอื่น ๆ ของผู้ให้สัมภาษณ์ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาแนวทางและรูปแบบของระบบการส่งต่อการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคมให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับระบบการส่งต่อของผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความเป็นธรรมได้รับบริการสาธารณสุข ของรัฐ 3.2.4 ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในเขตพื้นที่อาเภอหาดใหญ่ และอาเภอเมืองจังหวัด สงขลา เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่รับขึ้นทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนในระบบ ประกันสั งคม และ เนื่องจาก เป็นพื้นที่ เกิด เหตุร้อง เรียนและมีข้อพิพ าท เกี่ยวกับ ระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่มีทั้งโรงพยาบาลหลัก ที่เป็นคู่สัญญากับกองทุนประกันสังคมและโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ( Supra Contractor) 3.3 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) 2) สร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) 3) นาแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่สร้างขึ้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ตรวจสอบความ ตรงของเนื้อหา (Content of Validity) ของข้อซักถามแต่ละข้อเพื่อหาค่าความสอดคล้องของ สิ่งที่ต้องการวัดโดยการหาค่า IOC (Index of congruence) จากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้หลักเกณฑ์ การประเมิน ดังนี้ +1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินสอดคล้องกับเนื้อหา 0 หมายถึง ไม่แน่ใจสิ่งที่ประเมินสอดคล้องกับเนื้อหา -1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินไม่สอดคล้องกับเนื้อหา 4) ปรับปรุงแก้ไขแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ 5) เมื่อได้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีความเชื่อมั่นแล้ว นาแบบสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง ไปเก็บข้อมูลเพื่อดาเนินการวิจัย โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ไปทาการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยตนเอง และ เก็บรวบรวมข้อมูลตามประเด็นข้อคาถามที่กาหนดไว้ในแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3