การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
110 4.1 กลไกระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ผู้ประกันตนในประกันสังคม ระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมถือว่าเป็นการ จัดบริการสาธารณะของรัฐประการหนึ่งเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลในระดับที่ มีศักยภาพสูงขึ้นตามระดับ ความหมายของระบบส่งต่อเป็นบริการสุขภาพที่จัดขึ้นเพื่อได้รับ การส่งต่อผู้ป่วยเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ระหว่างสถานพยาบาลที่ ผู้ประกันตนเลือกขึ้นทะเบียนสิทธิแต่แรก กับสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า และมี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อการรักษาพยาบาล เนื่องจาก สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกไว้แต่แรกขาดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคหรือขาดอุปกรณ์ ทางการแพทย์ที่ทันสมัยรักษาโรคเฉพาะทาง ความหมายการส่งต่อผู้ป่วย (Refer in) เป็นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2545 เรื่อง มาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย หมายความว่า การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากสถานที่หนึ่ง ไปรักษาต่ออีกสถานที่หนึ่ง โดยสถานพยาบาลผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนสิทธิไว้เป็นผู้นาส่งต่อผู้ป่วย และเป็นหลักประกันว่า ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน เชื่อมโยงบูรณาการ กันระหว่าง สถานพยาบาล ทาให้ผู้ประกันตนได้รับบริการในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาล เอกชนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยในระบบประกันสังคม สิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ส่งต่อผู้ป่วย ระบบประกันสังคมมีรูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยอยู่ 2 รูปแบบ รูปแบบแรกเป็นสิทธิของ ผู้ประกันตนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทางาน และจาเป็นต้องส่งต่อ ผู้ป่วยไปรักษาตัวสถานพยาบาลอื่นที่มิใช่สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกขึ้นทะเบียนสิทธิแต่ แรก ส่งตัวไปรักษาสถานพยาบาลอื่นเขตพื้นที่เดียวกันที่มีศักยภาพสูงกว่า ด้วยเหตุที่ สถานพยาบาลผู้ประกันตนเลือกใช้สิทธินั้น ขาดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์การแพทย์ ทันสมัยในการรักษาผู้ป่วย รูปแบบที่สอง เมื่อผู้ประกันตนได้รับอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาสถานพยาบาลใดก็ได้ที่ใกล้ที่สุด แต่ถูกจากัดด้วยช่วงระยะเวลาเพียง 72 ชั่วโมงเท่านั้น เมื่อครบกาหนด 72 ชั่วโมง ผู้ประกันตนต้องกลับไปรับการรักษา ณ สถานพยาบาลที่ตนเลือกไว้ตามสิทธิ หรือบางกรณีส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่พ้นขีดอันตรายแล้ว ซึ่งสิทธิของผู้ประกันตน ถูกกาหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์และ พระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และจานวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2555 ข้อ 2 เจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายถึง โรคหรืออาการของโรคเกิดขึ้นโดยเฉียบพลันที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตราย ต่อชีวิตหรือจาเป็นต้องรับการรักษาพยาบาลเป็นการด่วน และรวมถึงการประสบอันตราย คาว่า “ประสบอันตราย”หมายถึง การประสบกับเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่ทาให้บาดเจ็บอัน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ” ส่วนคาว่า “เจ็บป่วย”หมายถึง ไม่สบายเพราะโรคหรือความป่วย ไข้หรือเหตุอื่นที่ทาให้รู้สึกเช่นนั้น” ประกาศฉบับนี้มีเป้าหมาย ให้ผู้ประกันตนได้รับบริการทาง การแพทย์อันเนื่องมาจากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน เท่ากับให้สิทธิผู้ประกันตน ได้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลได้ 2 แห่ง คือ สถานพยาบาลตามที่ ผู้ประกันตนได้ขึ้นทะเบียนไว้ กับ สถานพยาบาลอื่นที่ผู้ประกันตนไม่ได้ขึ้นทะเบียน ไว้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3