การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

111 เท่ากับเป็นการให้สิทธิลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนได้ใช้สถานพยาบาลอื่นที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือ นอกเขตพื้นที่ได้ อย่างไรก็ตาม การใช้สิทธิรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลอื่น เมื่อพิจารณา พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 59 วรรคหนึ่ง “ให้เลขาธิการประกาศ ในราชกิจจานุเบกษากาหนดเขตท้องที่และชื่อสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีสิทธิไปรับบริการ ทางการแพทย์ได้”วรรคสอง “ผู้ประกันตนซึ่งมีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ ถ้าทางานหรือ มีภูมิลาเนาอยู่ในเขตท้องที่ใด ให้ไปรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่ง ที่อยู่ในเขตท้องที่นั้น เว้นแต่ในเขตท้องที่นั้นไม่มีสถานพยาบาล หรือมีแต่ผู้ประกันตนมีเหตุผล อันสมควรที่ไม่สามารถไปรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลดังกล่าวได้ ก็ให้ไปรับ บริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่อยู่ในเขตท้องที่อื่นได้” บทบัญญัตินี้ ให้ผู้ประกันตนต้องไปใช้สิทธิเพื่อรับบริการในสถานพยาบาลที่ตนได้ขึ้นทะเบียนไว้แต่แรกก่อน แต่กฎหมายจึงให้สิทธิไปใช้สถานพยาบาลในเขตท้องที่อื่นได้ เท่ากับกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิ ลูกจ้างผู้ประกันตนในการเลือกใช้สถานพยาบาลนอกเขตพื้นที่ เว้นแต่ได้รับกา รส่งต่อ จากสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนไว้ ระดับสถานบริการสาธารณสุขในการรับส่งต่อผู้ป่วย ประเทศไทยแบ่งระดับสถานบริการสาธารณสุขรับส่งต่อผู้ป่วย (Referral Hospital cascade) โดยสังกัดสานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค ได้แบ่งสถานพยาบาล รับส่งต่อผู้ป่วยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) กลุ่มสถานพยาบาลรับส่งต่อระดับต้น เรียกว่า หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ คือ สถานพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ สถานพยาบาลชุมชนขนาด กลาง และสถานพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก 2) กลุ่มสถานพยาบาลรับส่งต่อระดับกลาง คือ สถานพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก สถานพยาบาลชุมชนแม่ข่าย และ 3) กลุ่มสถานพยาบาลรับส่ง ต่อระดับสูง คือ สถานพยาบาลศูนย์ และสถานพยาบาลทั่วไปจากสถานพยาบาลที่มีอยู่ทั้ง 3 ระดับนี้เป็นทรัพยากรที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกันเพื่อส่งต่อผู้ป่วยตามระดับเขตพื้นที่การส่งต่อ ผู้ป่วยเกิดขึ้นได้หากเป็นความประสงค์ของผู้ป่วย ประกอบกับการตัดสินใจของแพทย์ผู้รักษา เพื่อความปลอดภัยในชีวิตผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่มีศักยภาพที่สูงขึ้น ดังนั้น การแบ่งระดับสถานบริการสาธารณสุขรับส่งต่อผู้ป่วย ถือเป็นกลไกรองรับส่งต่อผู้ป่วย จากสถานที่แห่งหนึ่งไปอีกสถานที่แห่งหนึ่งโดยคานึงถึงความอยู่รอดชีวิตผู้ป่วยเป็นสาคัญ ส่งผล ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐอย่างทั่วถึง ตามระเบียบสานักงานประกันสังคมว่าด้วยการจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์แก่ สถานพยาบาล พ.ศ.2550 ข้อ 5 คาว่า “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลที่เข้า ร่วมโครงการและมีรายชื่อตามที่สานักงานประกันสังคมประกาศไว้ในราชกิจจานุเบิกษา” ได้แก่ สถานพยาบาลหลักในสังกัดสาธารณสุข สถานพยาบาลชุมชน สถานพยาบาลส่งเสริมตาบลใน จังหวัด และรวมถึงเครือข่ายของโรงพยาบาลคลินิก หรือสถานพยาบาลที่เป็นเครือข่าย และ สถานพยาบาลของรัฐ สถานพยาบาลเอกชน เพื่อให้ผู้ประกันตนใช้สิทธิเลือกสถานพยาบาลที่ ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่พักอาศัยหรือที่ทางาน และผู้ประกันตนต้องเลือกสถานพยาบาลที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3