การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

113 ที่มีศักยภาพสูงกว่าได้ตามข้อ 4 (4) ให้ได้รับการจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล” ซึ่งเป็นการให้สิทธิผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า ได้ ตามขั้นตอนประกาศของคณะกรรมการทางการแพทย์ ประกอบกับหลักเกณฑ์และอัตรา แนบท้ายประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมเรื่องหลักเกณฑ์ และอัตราสาหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการ ทางาน ข้อ 4 ให้อานาจแก่สถานพยาบาลคู่สัญญาหากไม่สามารถให้การรักษาพยาบาล แก่ผู้ประกันตนได้และให้มีอานาจหน้าที่ส่งผู้ประกันตนที่เป็นผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลที่ศักยภาพสูงกว่าได้” เมื่อประกาศคณะกรรมการการแพทย์กาหนดระบบส่งต่อผู้ป่วยไว้เพื่อรองรับ รักษาพยาบาลบริการทางการแพทย์ของผู้ใช้สิทธิประกันสังคมไว้ 3 ทางเลือกให้เป็นแนวปฏิบัติ ระหว่างสถานพยาบาลคู่สัญญากับสถานพยาบาลอื่นที่เป็นเครือข่ายกับสถานพยาบาล ที่ศักยภาพที่สูงกว่า โดยมีเงื่อนไขว่าหากไม่สามารถให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตนได้ หรือมีความจาเป็นต้องส่งผู้ประกันตนไปรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า (Supra Contractor) เป็นความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติต่อการรับบริการสุขภาพและ บริการทางการแพทย์ที่มีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยขึ้นอยู่กับนโยบายผู้บริหารของ สถานพยาบาลคู่สัญญาและแพทย์ผู้ทาการรักษาว่า โรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่เกินขีดความสามารถ รักษาหรือไม่ เช่น เป็นโรคร้ายแรง โรคเรื้อรังที่มีความรุนแรง ยุ่งยากและซับซ้อนเกินกว่าที่ แพทย์สถานพยาบาลคู่สัญญาจะรับรักษาได้ ซึ่งการส่งต่อผู้ป่วยแยกผู้ป่วยออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ป่วยนอก หากการวินิจฉัยของแพทย์เห็นว่าจาเป็นต้องส่งผู้ป่วยไปทาการรักษา ในสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่าจะออกหนังสือเพื่อนาส่งตัวผู้ป่วยให้กับสถานพยาบาล รับตัวผู้ป่วยต่อไป ที่เป็นปัญหาก็คือ การส่งต่อผู้ป่วยมีประเด็นเกี่ยวกับหนังสือส่งต่อผู้ป่วย ที่สร้างปัญหาและภาระให้กับผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อ คาสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ คร.260/2561 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 วินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดียื่นคาร้องอุทธรณ์คาสั่งศาลปกครองกลาง คดีอ้างว่าเป็นผู้ประกันตนของโรงพยาบาลเลิศสิน ออกใบส่งตัวให้ผู้ฟ้องคดีจานวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งมีระยะเวลา 15 วัน หรือ 30 วัน เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ประกันตน ที่ต้องเดินทางไปรับหนังสือเพื่อส่งใบส่งตัวให้กับสถานพยาบาลอื่น ผู้ถูกฟ้องคดีชี้แจง ว่า การส่งตัวผู้ประกันตนไปรักษาที่สถานพยาบาลอื่นให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาของ โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล เนื่องจากผู้ประกันตนมีการเปลี่ยน สถานพยาบาล ทาให้สถานพยาบาลผู้ถูกฟ้องจาเป็นต้องตรวจสอบสถานะของผู้ประกันตนก่อน ออกใบส่งตัว จึงไม่ได้มีการออกใบส่งตัวให้ไปรับการรักษาในระยะเวลาในคราวเดียวกันจนเสร็จ สิ้นการรักษา ผลคาสั่งศาลปกครองสูงสุดเห็นช่องว่างของระบบการส่งต่อของสานักงาน ประกันสังคม ยังขาดการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ รัฐควรปรับปรุงระบบที่บูรณาการระหว่าง สานักงานประกันสังคม สถานพยาบาลของรัฐ ด้วยจัดทาบันทึกข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่อผ่านออนไลน์เพื่อเชื่อมโยงกับสานักงานประกันสังคม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3