การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

114 คาพิพากษาเกี่ยวกับระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ ประเด็นพิพาทเกี่ยวกับระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคมฟ้องสถานพยาบาลผู้ส่งต่อ ปัญหาข้อเท็จจริงมีว่า ผู้ประกันตนที่เป็น ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลสถานพยาบาลพื้นที่เขตจังหวัดสงขลา แต่ด้วยโรคของผู้ป่วย สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิของผู้ประกันตนไม่มีแพทย์เฉพาะทางของโรค หรือ ไม่มีความพร้อมด้านเครื่องมือเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูง แพทย์ผู้ให้การรักษาได้พิจารณาเหตุผล และความจาเป็น ส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่นในเขตพื้นที่จังหวัดเดียวกันที่มีศักยภาพสูง กว่า โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ แต่ปรากฏว่าผู้ป่วยประสงค์ให้แพทย์ผู้ให้การรักษาส่งต่อ ไปจังหวัดกรุงเทพฯ เป็นการส่งต่อรักษาพยาบาลนอกเขตจังหวัด โดยสถานพยาบาลตามบัตร รับรองสิทธิของผู้ประกันตน เห็นว่าสถานพยาบาลในเขตพื้นที่จังหวัดเดียวกัน มีศักยภาพรักษา โรคได้ จึงไม่ส่งผู้ป่วยไปรักษานอกเขตจังหวัด นาไปสู่เป็นคดีข้อพิพาทศาลปกครองสงขลา คาพิพากษาศาลปกครองสงขลาตัดสินในคดีหมายเลขแดงที่ 92/2563 โจทก์ฟ้อง คดีต่อศาลปกครองว่า การที่สถานพยาบาลสงขลาไม่ส่งผู้ป่วยไปรักษาตามที่ผู้ประกันตนร้องขอ เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนด ทาให้เกิดความเสียหายผลของคดีนี้ศาล ปกครองสงขลามีคาพิพากษายกฟ้อง วินิจฉัยว่าการที่ผู้ประกันตนเข้ารักษาพยาบาล ณ สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ และแพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยและรักษาแล้วแต่เนื่องจาก โรงพยาบาลดังกล่าวไม่มีแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด จึงส่งตัวผู้ประกันตนไปรักษาต่อ ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า และแพทย์ของ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้ตรวจวินิจฉัยและยืนยันว่าสามารถรักษาโรคตามที่ผู้ประกันตน ป่วยได้ ศาลปกครองสงขลาให้เหตุผลว่า ในการพิจารณาโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการ รักษาพยาบาลของผู้ประกันตน จะต้องส่งต่อผู้ฟ้องคดีไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลนอกเขตจังหวัด คือ จังหวัดกรุงเทพฯหรือไม่ ผลคาพิพากษาศาลปกครองนี้ถือเป็นอานาจดุลพินิจของแพทย์ ผู้ทาการรักษาที่จะพิจารณาสั่งการให้มีการส่งต่อการรักษาหรือไม่ จึงมิได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่ กฎหมายกาหนดเป็นการยืนยันถึงการใช้ดุลพินิจเพื่อการส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่น 4.1.2 เปรียบเทียบระบบการส่งต่อระบบหลักประกันสุขภาพ ระบบสวัสดิการส่งต่อผู้ป่วยของหลักประกันสุขภาพ 3 รูปแบบ คือ ผู้ใช้สิทธิ ระบบสวัสดิการข้าราชการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และประกันสังคม เมื่อนาม า เปรียบเทียบกันจะเห็นประเด็นแตกต่างกัน ดังนี้ 4.1.2.1 ผู้ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ ระบบการส่งต่อผู้ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการนั้นสามารถเข้ารับการ รักษาพยาบาลของรัฐทุกแห่งหรือของเอกชนได้ที่เข้าร่วมโครงการ และสถานพยาบาลหรือผู้เข้า รับการรักษาพยาบาลสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลโดยตรงกับกรมบัญชีกลางที่มีระบบ อิเล็กทรอนิกส์ระบบการควบคุมค่าใช้จ่าย ตาม ข้อ19และข้อ 23 ของหลัก เกณฑ์ กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2533 ประกอบมาตรา 14 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3