การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

115 4.1.2.2 ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) มีสานักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติตามเขตพื้นที่ร่วมบริหารจัดการค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลในรูปแบบของการหัก ชาระบัญชีระหว่างกัน แต่มิได้กาหนดเรื่องการผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาล ของสถานพยาบาลอื่นให้กับสถานพยาบาลที่เป็นผู้ส่งต่อแต่อย่ างใด อีกทั้ง มีระบบ อิเล็กทรอนิกส์ควบคุมค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ. 2545 ประกอบ ข้อ 15 ข้อ 28 ข้อ 29 ของประกาศคณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติสาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2563 (ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,2562,หน้า14) เห็นได้ว่า ระบบ สวัสดิการข้าราชการ และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีการบริหารจัดการและสามารถ ควบคุมค่ารักษาพยาบาลที่เป็นค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ 4.1.2.3 ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม ส่วนระบบการส่งต่อผู้ป่วยของระบบกองทุนประกันสังคมยังขาด ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เนื่องจากยังมีประเด็นปัญหาในการส่งต่อผู้ป่วยที่ผู้ประกันตน เผชิญอยู่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของรัฐ เนื่องจากระบบส่งต่ออยู่ภายใต้นโยบาย ของผู้บริหารสถานพยาบาลและดุลพินิจของแพทย์ส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่นในเขต พื้นที่จังหวัดเดียวกันที่มีศักยภาพสูงกว่า ประกอบกับการสร้างความรับรู้กับผู้ป่วยหรือญาติ ผู้ป่วยเกี่ยวกับการส่งต่อผู้ป่วย รวมถึงการปฏิบัติงานการออกหนังสือรับหรือส่งตัวฐานข้อมูล ผู้ป่วยในการส่งต่อยังมีความล้าสมัยขาดการนาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเก็บข้อมูลหรือส่งข้อมูล ระหว่างสถานพยาบาลผู้ส่งตัวกับสถานพยาบาลผู้รับตัวผู้ป่วยส่งผลต่อการเข้าถึงบริการทาง การแพทย์อย่างไม่มีประสิทธิภาพเหมือนกับอีกหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสวัสดิการ ข้าราชการ จาเป็นต้องปรับปรุงพัฒนาระบบส่งต่อโดยให้สานักงานประกันสังคมเป็นศูนย์กลาง ข้อมูลการส่งต่อระหว่างสถานพยาบาลผู้ส่งต่อกับสถานพย าบาลผู้รับการส่งต่อเพื่อให้ ดาเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นที่แสดงให้เห็นถึงระบบส่งต่อผู้ป่วยจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารหรือผู้แทนของ โรงพยาบาลรัฐ กลุ่มผู้แทนแพทย์ผู้ให้การรักษากลุ่มผู้ปฏิบัติงานของโรงพยาบาลเกี่ยวกับระบบ การส่งต่อ กลุ่มผู้แทนของสานักงานประกันสังคม และกลุ่มผู้ประกันตน คาตอบที่ได้จากการ สัมภาษณ์ เชิงลึกเพื่อนาไปประกอบกับการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการการแพทย์แยกตาม ประเด็นสาคัญ ดังนี้ 1) ประเด็นด้านบริการทางการแพทย์เกี่ยวกับระบบการส่งต่อ รักษาพยาบาลผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมปัจจุบันมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3