การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

116 คาตอบ จากผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ทั้งห้ากลุ่ม เห็นเหมือนกันว่า การส่ง ต่อผู้ป่วยในสถานพยาบาลของภาครัฐที่ให้บริการทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข ถือว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารสถานพยาบาล แพทย์ผู้ให้การรักษา ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบส่งต่อ ผู้แทนของสานักงานประกันสังคม และกลุ่มผู้แทนของ ผู้ประกันตนเห็น สอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกันว่า ปัจจุบันสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวง สาธารณสุขส่วนภูมิภาค วางรูปแบบระบบส่งต่อผู้ป่วยตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของ กระทรวงสาธารณสุข มีการแบ่งสถานพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยออกเป็น 3 ระดับ คือ โรงพยาบาลรับส่งต่อระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง สาหรับสถานพยาบาลทั่วไปและ สถานพยาบาลศูนย์ จัดให้เป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับสูงด้วย ส่วนประสิทธิภาพการส่งต่อ ผู้ป่วย เห็นว่า ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยเฉพาะโรงพยาบาลสงขลา ซึ่งเป็นสถานพยาบาลทั่วไป ประจาจังหวัด มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ตามระบบภาคี เครือข่ายของสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นลาดับอยู่แล้ว คือ ส่งต่อไปยัง โรงพยาบาลหาดใหญ่ ซึ่งมีสถานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์ และสถานพยาบาลในสังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย คือ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ หรือโรงพยาบาลเอกชนที่มีศักยภาพ ในการรักษาผู้ป่วย จึงสามารถลดปัญหาการส่งต่อออกนอกเขตจังหวัดได้อย่างเพียงพอ จึงมีข้อเสนอแนวทางเดียวกันว่า ต้องพัฒนาระบบสิทธิประโยชน์ให้ผู้ป่วยสามารถเลือก โรงพยาบาลเข้ารับการรักษาได้ และควรให้มีการเชื่อมต่อข้อมูลของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ในแต่ละโรงพยาบาล เพื่อง่ายต่อการดูประวัติของผู้ป่วยในการเข้ารับการรักษาในแต่ละครั้ง และควรให้มีการรักษาผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันตนได้ทุกโรงพยาบาลไม่เฉพาะแต่กรณีฉุกเฉิน เท่านั้น และผู้ประกันตนสามารถเลือกโรงพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาได้ และข้อมูลที่ใช้ก็ควร เป็นระบบออนไลน์โดยการใช้เลข 13 หลัก ของผู้เข้ารับการรักษาเพื่อลดเวลาการรอคอยและ ผู้เข้ารับการรักษาเกิดความพึงพอใจสูงสุด 2) รูปแบบส่งต่อรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มีปัญหาหรืออุปสรรคหรือไม่อย่างไร คาตอบ จากผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ทั้งห้ากลุ่ม มีข้อเสนอที่หลายหลาก กัน คือ 1) กลุ่มผู้แทนของผู้ประกันตน ให้ความเห็นว่า รูปแบบการส่งต่อและ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคมควรเหมือนกับสิทธิของ บัตรทอง ซึ่งหากผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลต้นสังกัดแล้วให้มีสิทธิได้รับ ส่งต่อรักษาพยาบาลไปยังโรงพยาบาลอื่นที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมืออุปกรณ์แพทย์ที่มี ศักยภาพสูงกว่าโดยไม่ถูกจากัดหรือมีเงื่อนไข 2) กลุ่มแพทย์ผู้ให้การรักษา ได้ให้ความเห็นว่า ควรมีรูปแบบส่งต่อ ผู้ป่วยเหมือนกับสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพบัตรทอง ที่พัฒนาระบบส่งต่อ รักษาได้ทุกที่ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ โดยผู้ป่วยที่มารับบริการไม่ต้องขอรับใบส่งตัวใน การรักษาพยาบาล และข้อเสนอว่า ควรจัดระบบการส่งต่อข้อมูลการรักษาพยาบาลของ ผู้ประกันตนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ของผู้ประกันตนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3