การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
117 3) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบส่งต่อ ได้เสนอความคิดเห็น สอดคล้องแนวทางเดียวกันกลุ่มแพทย์ผู้ให้การรักษาว่า ควรจัดข้อมูลในรูปอิเล็กทรอนิกส์ เพราะการส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้ที่ออกเป็นหนังสือได้กาหนดระยะเวลาไว้ ซึ่งสถานพยาบาลบางแห่ง ก็กาหนดให้มีระยะเวลาในการส่งต่อเพียงระยะเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน และถ้าหากใบส่งต่อ หมดอายุแล้ว ผู้ป่วยต้องกลับมาขอใบส่งต่อใหม่ที่สถานพยาบาลต้นสังกัด จึงเป็นภาระที่ผู้ป่วย ต้องกลับมาติดต่อเพื่อขอรับเอกสารการส่งต่อ เปรียบเสมือนการมาเริ่มกระบวนการรับการ รักษาพยาบาลใหม่อีก สร้างภาระให้กับผู้ป่วยที่ต้องมาขอให้ออกหนังสือใหม่ตลอดระยะเวลาที่ ทาการรักษาพยาบาลจนกว่าจะเสร็จสิ้นการรักษา 4) กลุ่มผู้แทนของสานักงานประกันสังคม แสดงความเห็นว่า ปัจจุบัน สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บัตรทอง) กาหนดนโยบายขับเคลื่อนการดาเนินงาน “ยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” โดยให้ผู้ป่วยในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว ซึ่งการ ส่งต่อเดิมผู้ป่วยจะต้องดาเนินการขอใบส่งตัวการรักษาจากคลินิกหรือโรงพยาบาลที่ลงทะเบียน ใช้สิทธิหรือหน่วยบริการประจาที่ผู้ป่วยเลือกไว้ เพื่อไปรักษาต่อเนื่องโรงพยาบาลเฉพาะ เนื่องจากความไม่พร้อมของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือไม่มีแพทย์สาขาเฉพาะ ทางจึงเป็นกรณีที่เกินศักยภาพรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยเลือกใช้สิทธิ รักษาพยาบาล ต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพในการรักษา โดยปกติโรงพยาบาลต้นสังกัดต้องดาเนินการออกใบส่งตัวให้กับผู้ป่วย ทุก 3 เดือนจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา หากกรณีที่ใบส่งตัวครบกาหนดจะเป็นภาระที่ผู้ป่วยหรือ ญาติต้องกลับไปยังหน่วยบริการประจาเพื่อขอใบส่งตัวใหม่ เกิดความไม่สะดวกและเป็นปัญหา ที่ประชาชนต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็ง อาจต้องต่อคิว รอรับการตรวจวินิจฉัยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นระยะเวลานานและหลายครั้ง ซึ่งหากไม่สามารถนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่ ไม่ใช่หน่วยบริการประจาของผู้ป่วยได้ ย่อมส่งผลต่อการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ทาให้การ ตรวจวินิจฉัยโรคหรือรักษาล่าช้าเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต เพื่ออานวยความสะดวก สานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ปรับระบบให้ผู้ป่วยในสามารถรักษาต่อเนื่องได้ทันทีตามการ วินิจฉัยของแพทย์ โดยไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัวที่หน่วยบริการประจาใช้เพียงบัตรประชาชน เพื่อตรวจสอบตัวตนและสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเท่านั้น โดยสานักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติเป็นผู้ดูแลเรื่องเงินสนับสนุนค่าใช้จ่าย ส่วนโรงพยาบาลดูแลเรื่องระบบบริการ ใบส่งต่อรักษา รวมทั้งประวัติต่าง ๆ ของผู้ป่วย มีข้อเสนอให้สานักงานประกันสังคมควรมี นโยบายในการพัฒนารูปแบบให้เท่าเทียมกับสิทธิบัตรทอง 4.2 การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลเกี่ยวกับระบบการส่งต่อ บริการทางการแพทย์ รูปแบบการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อ ที่ยังคงแบกรับภาระ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล ถือเป็นสาเหตุและปัจจัยสาคัญต่อการบริหารจัดการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3