การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

118 ที่สถานพยาบาลของคู่สัญญาระดับต่าง ๆ เป็นปัญหาคือ การใช้ดุลพินิจของผู้บริหารและแพทย์ ของสถานพยาบาลตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่นหรือไม่ ด้วยเหตุที่ สถานพยาบาล คู่สัญญากับสานักงานประกันสังคม ได้รับเงินเป็นระบบเหมาจ่ายรายหัว ปี พ.ศ.2563 จานวน เงิน 2,839 บาท ต่อคนต่อปี ซึ่งในแต่ละเดือนสถานพยาบาลจาเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยัง สถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า มีจานวนหลายรายย่อมส่งผลต่อการบริหารจัดการ ทางการเงินการคลังของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อ ประกอบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยแต่ละ รายนั้น อยู่นอกเหนือการควบคุมของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อ เนื่องจากต้นทุนและอัตรา ค่าบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน รวมถึงประกาศ คณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2546 ตามข้อ 4 กาหนดให้ สถานพยาบาล ผู้ส่งต่อต้องรับผิดชอบค่าบริการทางการแพทย์ทั้งหมดให้แก่สถานพยาบาลที่มี ศักยภาพสูงกว่า สะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบของการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของกองทุน ประกันสังคมตามประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ดังกล่าว เป็นปัจจัยสาคัญต่อการใช้ ดุลพินิจของผู้บริหารสถานพยาบาลและมีผลต่อการตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลของการผลักภาระค่ารักษาพยาบาลส่วนต่างที่เกินให้กับสถานพยาบาล ที่นาส่งต่อผู้ป่วยเป็นค่ารักษาพยาบาล ส่งผลต่อสถานะการบริหารจัดการทางการเงินการคลัง และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยแต่ละราย เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สถานพยาบาลคู่สัญญาได้รับ ตามประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราสาหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการ ทางาน ประกาศวันที่ 21 มกราคม 2563 ข้อ 5/1 กาหนดให้สานักงานประกันสังคมจ่าย ค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลที่กาหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์ ที่เป็นคู่สัญญา ตามอัตราที่กาหนดโดยคานวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม Diagnosis Related Groups (DRG) กรณีนี้สานักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่สถานพยาบาล คู่สัญญา ตามอัตราที่กาหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม โดยคานวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม Diagnosis Related Groups (DRG) เท่านั้น รัฐขืนปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป ย่อมส่งผลต่อการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของผู้ป่วย หรือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม เมื่อพิจารณาตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฯ ตามข้อ 4 กาหนดให้ สถานพยาบาลผู้ส่งต่อต้องรับผิดชอบค่าบริการทางการแพทย์ทั้งหมดให้แก่สถานพยาบาลที่มี ศักยภาพสูงกว่าและข้อ 5/1 เป็นการประกาศที่ขัดต่อบทบัญญั ติแห่งรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 47 “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการ สาธารณสุขของรัฐ และผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ประกอบกับรัฐธรรมนูญให้ดาเนินการปฏิรูปประเทศด้านหลักประกัน สุขภาพตามบทบัญญัติมาตรา 258 ช.(4) “ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับ สิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการ และการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวก ทัดเทียมกัน”

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3