การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

119 4.2.1 การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ระบบส่งต่อ การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม กรณีผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการ ทางานของผู้ป่วยประเด็นที่ผลักภาระค่ารักษาพยาบาลให้กับสถานพยาบาลผู้นาส่งต่อมีหน้าที่ ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า ย่อมส่งผลกระทบต่อการ เข้าถึงบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนอย่างชัดเจน เมื่อนาหลักการดาเนินงานของ ประกันสังคม พบว่าเป็นกองทุนที่มีภาครัฐร่วมกับนายจ้างและลูกจ้างส่งเงินสมทบ เพื่อให้เกิด สิทธิประโยชน์ทดแทนต่าง ๆ รัฐมีหน้าที่จัดหาบริการสาธารณะเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล รวมถึงการส่งต่อผู้ป่วยในระบบประกันสังคม ปัจจุบันรัฐสวัสดิการด้านสุขภาพให้ประชาชน ภายในรัฐคือ สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการที่รัฐจัดให้กลุ่มข้าราชการและครอบครัว สวัสดิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่รัฐจัดให้ประชาชนทั่วไป และสวัสดิการประกันสังคม ที่รัฐจัดให้ผู้ทางานในภาคเอกชน สวัสดิการเป็นเรื่องที่รัฐจัดให้โดยไม่แสวงหากาไรและ เป็นบริการให้เปล่าและเป็นโครงสร้างทางสังคมภายใต้กากับดูแลของรัฐ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี ว่าด้วยการบริการสาธารณะ และถือว่าหลักประกันสุขภาพเป็นอีกประเภทหนึ่งที่รัฐอย่างมี ประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด โดยไม่คานึงถึงตัวบุคคล และทุกคนต้อง ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในสภาพที่เหมือนกัน เมื่อนาแนวคิดรัฐ สวัสดิการและทฤษฎีว่าด้วยการบริการสาธารณะมาประกอบการพิจารณา เห็นว่าเป็นสิ่งสาคัญ ที่จะต้องพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ให้ได้รับการเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการเลือก ปฏิบัติไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในสถานะใด ตลอดถึงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล ทางการแพทย์ของประชาชนทุกคน 4.2.2 การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลเกี่ยวกับการส่งต่อประเทศไทย การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลทางการ แพทย์กรณีส่งต่อผู้ป่วยของประกันสังคม นามาเปรียบเทียบกับสวัสดิการข้าราชการ และ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง)เพื่อหาความแตกต่างค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ ดังนี้ 4.2.2.1 หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) การบริหารจัดการค่าใช้จ่าย กรณีรับส่งต่อผู้ป่วย พบว่า กาหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2563 กาหนดแนวทางในการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย กรณีรับส่งต่อ ตามข้อ 15 บริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อในและนอกเขตจังหวัด และบริการผู้ป่วย นอกกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินในจังหวัด ให้หน่วยบริการเรียกเก็บจากหน่วยบริการ ประจาตามอัตราที่มีการเห็นชอบร่วมกันระหว่างหน่วยบริการที่ให้บริการกับหน่วยบริการ ประจาโดยอาจให้สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขตร่วมบริหารจัดการและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3