การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
122 รักษาพยาบาลจากส่วนต่างที่เกิดขึ้นนี้กับสานักงานประกันสังคมได้ ซึ่งตามประกา ศ คณะกรรมการการแพทย์ทั้งสองฉบับ มีผลต่อการใช้ดุลพินิจของผู้บริหารสถานพยาบาลในการ ตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า เพราะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของ ผู้ป่วยแต่ละรายอยู่นอกเหนือการควบคุมของสถานพยาบาลคู่สัญญาผู้ส่งต่อ แต่ละเดือนต้องส่ง ต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่นมีจานวนหลายราย ย่อมส่งผลต่อการบริหารจัดการทางการเงิน การคลังของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อเป็นอย่างมาก เมื่ อ วิ เค ราะห์ เป รียบ เที ยบ รูป แบบ บ ริห ารจัดก ารค่ า ใช้จ่ าย รักษาพยาบาลทางการแพทย์ของหลักประกันสุขภาพทั้งสามระบบ พบว่ามีการบริหารจัดการ ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลระบบการส่งต่อแตกต่างกัน ซึ่งผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง)บริหารจัดการค่าใช้จ่ายในภาพรวมของแต่ละพื้นที่จังหวัด โดยกันเงินค่าใช้จ่าย บริการผู้ป่วยนอกทั่วไปไว้จานวนหนึ่งเพื่อใช้สาหรับการหักชาระบัญชีระหว่างกัน (Clearing house) แทนหน่วยบริการประจา สาหรับจังหวัดที่ไม่มีการกันเงินไว้สาหรับชาระบัญชีระหว่าง กัน (Clearing house) หน่วยบริการสามารถแจ้งความประสงค์ที่ยินยอมให้สานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)หักรายรับจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อชาระค่าบริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อในจังหวัดและหรือค่าบริการผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุ และเจ็บป่วยฉุกเฉินในจังหวัดแทนได้ ส่วนผู้ใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ สามารถ เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานพยาบาลของรัฐและ เอกชนได้ทุกแห่ง แม้ได้ทดรองจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปแล้วนาหลักฐานการจ่ายเงินมายื่น ขอรับเงินคืนได้ต่อกรมบัญชีกลาง ขณะที่หลักประกันสังคม ผลักภาระค่าใช้จ่ายบริหารจัดการค่าใช้จ่าย รักษาพยาบาลทางการแพทย์ ให้กับสถานพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยให้รับค่ารักษาพยาบาลส่วนต่าง ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการควบคุม สะท้อนให้เห็นความแตกต่างบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการ ทางการแพทย์ในระบบส่งต่อผู้ป่วยที่มีความเหลื่อมล้าเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของรัฐอย่าง ไม่เสมอภาคกัน การประกาศบังคับของกฎหมายต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 47 บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสารณสุขของรัฐ” เท่ากับรัฐธรรมนูญได้รับรองสิทธิทุกคน รัฐหรือหน่วยงานของรัฐจะประกาศกฎหมายเพื่อจากัด สิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลไม่ได้ และกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ บุคคลทุกคนจะไม่ถูกจากัดสิทธิด้านสุขภาพในการเข้ารับบริการสาธารณสุขของประชาชน เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิไว้ ดังนั้น การตราพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ.2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่4) พ.ศ.2558 และประกาศคณะกรรมการ การแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2546 ข้อ 4 กาหนดให้สถานพยาบาลผู้ส่งต่อ ต้องรับผิดชอบค่าบริการทางการแพทย์ทั้งหมดให้แก่สถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า เป็นกฎหมายและประกาศโดยรัฐและสานักงานประกันสังคมเป็นหน่วยงานของรัฐออกมาบังคับ ใช้กับกลุ่มลูกจ้างผู้ประกันตน ในลักษณะจากัดสิทธิเข้าถึงบริการสาธารณสุข และได้รับความ เดือนร้อนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทางการแพทย์ได้ เท่ากับว่ารัฐได้ละเมิดสิทธิ ขั้นพื้นฐานของผู้ป่วยต้องพึ่งระบบส่งต่อไปรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3