การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

123 นอกจากนี้ยังเป็นการเลือกปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมต่อบุคคลผู้ถูกส่งต่อ ด้วยเหตุความแตกต่างของสถานะบุคคล ด้านสุขภาพ จะกระทามิได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 27 ดังนั้นไม่ว่าประชาชนจะอยู่สถานะใดของสังคมก็ตาม การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ไม่ ควรมีความแตกต่างหรือเลือกปฏิบัติ ซึ่งมาตรา 55 กาหนดให้รัฐมีหน้าที่ดาเนินการให้ ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง รัฐต้องพัฒนาการบริการ สาธารณสุขให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนทุกคน ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ส่วนต่างที่เกินมาของผู้ประกันตน กรณี ส่งต่อผู้ป่วยใครเป็นผู้รับผิดชอบระหว่างประกันสังคมกับสถานพยาบาลผู้ส่งต่อ จากการ สัมภาษณ์เชิงลึกทั้ง 5 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารหรือผู้แทนของโรงพยาบาลรัฐ กลุ่มผู้แทนแพทย์ ผู้ให้การรักษากลุ่มผู้ปฏิบัติงานของโรงพยาบาลเกี่ยวกับระบบการส่งต่อ กลุ่มผู้แทนของ สานักงานประกันสังคมและกลุ่มผู้ประกันตน คาตอบจากผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ทั้งห้ากลุ่ม มีข้อเสนอที่หลายหลากกัน ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานพยาบาล มีความเห็นว่า ภาระค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนของการ รักษาโรคเกี่ยวกับระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประตนในประกันสังคม ทาให้เป็น อุปสรรคต่อสถานะการเงินการคลังและระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาล เป็นอย่างมาก เสนอว่า ไม่นาภาระค่าใช้จ่ายมาเป็นอุปสรรคหรือเงื่อนไข โดยเฉพาะในกรณีการ ส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบกองทุนประกันสังคม ควรกาหนดให้ สานักงานประกันสังคมเป็นผู้ดาเนินการหักชาระบัญชีระหว่างกัน (Clearing House) มีอานาจ จ่ายชดเชยค่าบริการกรณีส่งต่อผู้ป่วยและจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงที่เป็นส่วนเกินโดยไม่ ผลักภาระให้กับโรงพยาบาลผู้ส่งต่อไม่ควรแบ่งแยกสิทธิรักษาพยาบาลเพื่อให้ทุกคนเข้าถึง บริการทางการแพทย์อย่างเท่าเทียมกัน 2) แพทย์ผู้ให้การรักษาและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบส่งต่อ มีความเห็น เหมือนกันว่า การนารูปแบบของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาปรับใช้โดยการกันเงิน ส่วนหนึ่งเพื่อสาหรับจัดสรร หรือจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยความเสี่ยงให้กับสถานพยาบาล ในกรณีการส่งต่อผู้ประกันตนไปรับการรักษา ณ สถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า และ จะต้องกาหนดมาตรฐานของราคากลาง อัตราค่าบริการทางการแพทย์เพื่อไม่ให้โรงพยาบาล กาหนดอัตราค่าบริการทางการแพทย์ได้ โดยไม่มีมาตรฐานราคากลางเหมือนเช่นระบบของ กรมบัญชีกลาง 3) ผู้แทนของสานักงานประกันสังคม มีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการบริหาร จัดการค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ของระบบกองทุนประกันสังคมว่า เนื่องจากสานักงาน ประกันสังคมไม่มีบุคลากร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ จึงทาให้การบริหารจัดการกองทุน สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีเจ็บป่วยของผู้ประกันตนไม่ได้รับการพัฒนาสิทธิประโยชน์ ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพและบริการทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงเสนอ ความเห็นว่า หากสานักงานประกันสังคมโอนการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคมเฉพาะ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3