การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

124 ในส่วนของสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีเจ็บป่วยของผู้ประกันตนให้กับสานักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้ดาเนินการบริหารจัดการและความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ มากกว่า ทาให้ประกันสังคมได้รับการพัฒนาสิทธิประโยชน์และบริการทางการแพทย์ ทาให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐดีขึ้น 4) กลุ่มผู้แทนของผู้ประกันตน มีความเห็นว่า สานักงานประกันสังคมควร รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายในการส่งต่อผู้ประกันตนไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลอื่นเหมือน เช่นกรมบัญชีกลางที่รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายของผู้ใช้สิทธิข้าราชการ 4.3 การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมของประเทศไทยและต่างประเทศ ประเทศไทยให้ความสาคัญด้านบริการสาธารณสุขเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของ ประชาชน รัฐได้จัดสวัสดิการหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนได้รับการรักษาพยาบาลตาม สิทธิของตนในหลักประกันสุขภาพ การใช้สิทธิรักษาพยาบาลยึดถือการประกอบอาชีพเป็นหลัก ใหญ่ 3 อาชีพ ได้แก่ ผู้อาชีพรับราชการ ใช้สิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ผู้ประกอบอาชีพแรงงานตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และผู้ประกอบอาชีพอิสระตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 การใช้สิทธิรักษาพยาบาลรวมถึงระบบการส่งต่อผู้ป่วยอยู่ภายใต้กฎหมายแต่ละฉบับที่มี หลักการ แนวคิด หน่วยงานหรือองค์กรกากับดูแลเป็นอิสระแยกต่างหากจากกัน แต่การได้รับ บริการทางการแพทย์ด้านสาธารณสุขไม่ควรแตกต่างกัน ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดหรืออยู่ในสถานะใดย่อมมีสิทธิเข้าถึงบริการ สาธารณสุขของรัฐ และได้รับคุ้มครองรับรองสิทธิอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 47 วรรคแรก “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับ บริการสาธารณสุขของรัฐ” วรรคสอง “บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของ รัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” และได้เน้นย้าให้มีการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพเพื่อให้ ประชาชนได้รับคุ้มครองสิทธิอย่างเสมอภาคกันไว้ในมาตรา 258 ซ.(4) “ปรับระบบ หลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับและประโยชน์จากการบริการจัดการ และการเข้าถึง บริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน” นอกจากนี้ ให้ความสาคัญด้านความเสมอภาคของ บุคคลไว้มาตรา 4 วรรคแรก“ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของ บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” วรรคสอง “ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตาม รัฐธรรมนูญเสมอกัน”และมาตรา 27 วรรคแรก “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายมีสิทธิและ เสรีภาพได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน”จากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นเรื่อง คุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนทุกคนโดยไม่แบ่งแยกอาชีพ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการ สาธารณสุขของรัฐ และกาหนดให้รัฐมีหน้าที่จัดบริการให้กับประชาชนอย่างทั่วถึ ง ไม่ว่า ประชาชนจะอยู่ในสถานะรับราชการ ลูกจ้างภาคเอกชน หรืออาชีพอิสระ ทุกคนควรมีสิทธิ ได้รับบริการทางการแพทย์ด้านสาธารณสุขของรัฐไม่แตกต่างกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3