การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

125 เมื่อพิจารณาระบบส่งต่อของผู้ใช้สิทธิบริการทางการแพทย์ทั้ง 3 ระบบ พบว่า ผู้ใช้สิทธิ สวัสดิการข้าราชการเข้าการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐได้ทุกแห่งรวมถึงเอกชนที่ เข้าร่วมโครงการ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลสามารถเบิกได้ทั้งหมดจาก กรมบัญชีกลางยกเว้นแต่ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ เช่น ห้องพิเศษ จ้างคนเฝ้าไข้ โดยการจ่ายค่ารักษาพยาบาลผ่านระบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อควบคุม ค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายตามข้อ 19 และข้อ 23 หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิก จ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2533 ประกอบมาตรา 14 แห่งพระราช กฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ส่วนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) มีสานักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติตามเขตพื้นที่ร่วมบริหารจัดการค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลในรูปแบบของการหักชาระ บัญชีระหว่างกันโดยมอบให้สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตพื้นที่ (สปสช.) รับผิดชอบภายใต้การกากับดูแลและประสานงานกับส่วนกลาง ส่วนการส่งตัวผู้ป่วย หรือ จ่ายค่ารักษาพยาบาล ใช้วิธีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออานวยความสะดวกให้ทุกฝ่ายและ ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ประกอบ ข้อ 15 ข้อ 28 ข้อ 29 ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2563 (ประกาศ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,2562,หน้า14) และมิได้กาหนดเรื่องการผลักภาระ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลอื่นให้กับสถานพยาบาลที่เป็นผู้ส่งต่อ แต่อย่างใด ขณะที่ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม สถานพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยต้องทาหนังสือเป็นเอกสารส่ง ตัวผู้ป่วยกาหนดระยะเวลาการออกหนังสือและวันสิ้นสุด ส่วนค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น เป็นภาระหน้าที่ของสถานพยาบาลคู่สัญญารับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด และมีหน้าที่จ่ายเงิน ค่ารักษาพยาบาลให้กับสถานพยาบาลผู้รับการส่งต่อตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2546 ข้อ 4 “กาหนดให้สถานพยาบาลผู้ส่งต่อต้อง รับผิดชอบค่าบริการทางการแพทย์ทั้งหมดให้แก่สถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ” ประกาศของคณะกรรมการการแพทย์เป็นปัจจัยสาคัญการใช้ดุลพินิจของผู้บริหาร สถานพยาบาลและมีผลต่อการตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่น หากเปรียบเทียบเรื่องระบบการส่งต่อผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ ทั้ง 3 ระบบหลักประกันสุขภาพ พบว่า ผู้ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ และผู้ใช้สิทธิหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ทั้งสองระบบมีรูปแบบ กลไกบริหารจัดการส่งต่อผู้ป่วย และสามารถควบคุม ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ อานวย ความสะดวกกับผู้ป่วยและควบคุมค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้ได้ และมิได้ผลักภาระ ค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ให้กับสถานพยาบาลผู้ส่งต่อ ขณะที่ผู้ใช้สิทธิประกันสังคมขาด กลไกการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยคงใช้รูปแบบเอกสารหนังสือส่งตัวที่กาหนดระยะเวลาเริ่มต้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3