การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
126 และสุดสิ้นไว้ หากผู้ป่วยจาเป็นต้องรักษาตัวต่อเนื่องต้องขอหนังสือส่งตัวใหม่อีกครั้ง ส่วน ค่าใช้จ่ายรักษาบริการทางการแพทย์สานักงานประกันสังคมผลักภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับ สถานพยาบาลผู้ส่งต่อ ทั้งที่ผู้ใช้สิทธิประกันสังคมต้องจ่ายเงินสมทบทุกเดือนเข้ากองทุน ประกันสังคม เพื่อให้ตนได้รับสิทธิรักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่ เนื่องจากการทางาน รวมถึงสิทธิได้รับการส่งต่อ ขณะที่ผู้ใช้สิทธิข้าราชการและผู้ใช้สิทธิ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ เพื่อให้ตนได้สิทธิรักษาพยาบาลแต่อย่างใด สะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้าและความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐ อย่างเห็นได้ชัดเจน ประเด็นเรื่องสิทธิการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ พบว่ามีหลายองค์กรร่วมมือกัน เพื่อดูแลสิทธิของผู้ป่วยตามคาประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2558 ข้อ 1 “ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้าน สุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ”ที่ให้ประชาชนผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานได้ไม่เลือกปฏิบัติ สอดคล้องกับนโยบายแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20ปี (พ.ศ.2561-2580) ที่มีเป้าหมายมุ่งพัฒนา ด้านสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี การเตรียมพร้อมด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมให้เป็น ประชากรที่มีคุณภาพ มีความมั่นคง ในชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมอย่าง ยั่งยืน เห็นได้ว่ารัฐให้ความสาคัญต่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและบริการทางการแพทย์ ในหลักประกันสุขภาพของประชาชนทุกคนโดยไม่แบ่งแยกสถานะแต่อย่างใด 4.3.1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบสิทธิเข้าถึงบริการสาธารณสุขของไทยและ ระหว่างประเทศ ผู้ศึกษาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบสิทธิเข้าถึงบริการสาธารณสุขของปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและ วัฒนธรรม กับประเทศไทย ดังนี้ 4.3.1.1 สิทธิเข้าถึงบริการสาธารณสุขกฎหมายระหว่างประเทศ การที่รัฐให้ความสาคัญกับบริการสาธารณสุขทางการแพทย์ อาจเป็น ผลมาจากประเทศไทยร่วมเป็นภาคีกับกฎหมายระหว่างประเทศ คือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน ค.ศ.1984 ให้การคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับด้านสุขภาพของประชาชนกาหนดไว้ข้อ 3 “ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพและความมั่นคงแห่งบุคคล ข้อ 21(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะ เข้าถึงบริการสาธารณะในประเทศตนโดยเสมอภาค และข้อ 7 ทุกคนเสมอภาคกันตาม กฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือก ปฏิบัติใด อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญานี้และจากการยุยงให้มีการเลือกปฏิบัติดังกล่าว” เป็นการเน้นย้าว่าให้ประเทศสมาชิกต้องสิทธิทุกคนได้เข้าถึงบริการสาธารณะอย่างเสมอภาค กัน และเป็นไปเพื่อประโยชน์กับประชาชนส่วนรวมโดยภาครัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อ ตอบสนองความต้องการของสังคมจึงเป็นภาระหน้าที่ของรัฐจัดให้กับประชาชนทุกคนไม่ใช่เพื่อ ประโยชน์ของคนกลุ่มใดหรือคนใดโดยเฉพาะ ดังนั้น เมื่อนาสิทธิของประชาชนในสถานะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3