การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

127 ลูกจ้างมาเปรียบเทียบกับ หลักสากล ข้อ 4 “สิทธิเข้าถึงบริการสาธารณสุขด้านสุขภาพโดย ความเสมอภาค” พบว่าประเทศไทยมีความแตกต่างกันด้านเข้าถึงบริการสาธารสุขตามสถานะ ของประชาชน แต่ละกลุ่มระหว่างกลุ่มสวัสดิการข้าราชการ กลุ่มหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกลุ่มประกันสังคมที่ไม่สอดคล้องกับหลักสากล กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ค.ศ.1967 ให้ความสาคัญกับสิทธิสวัสดิการสังคม สุขภาพอนามัย ตลอดมาตรฐานการครองชีพ และหลักการไม่เลือกปฏิบัติในข้อ 9 “รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนในอันที่ จะมีสวัสดิการสังคมรวมทั้งการประกันสังคม และข้อ 12 (1) รัฐภาคีรับรองสิทธิของทุกคนที่จะ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้ (2) ขั้นตอนในการดาเนินการ โดยรัฐภาคีแห่งกติกานี้ เพื่อบรรลุผลในการทาให้สิทธินี้เป็นจริงอย่างสมบูรณ์จะต้องรวมถึง สิ่งต่าง ๆ ที่จาเป็นเพื่อ (d) การสร้างสภาวะที่ประกันบริการทางการแพทย์และการให้การดูแล รักษาพยาบาลแก่ทุกคนในกรณีเจ็บป่วย”ประกอบกับ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966 กาหนดข้อ 25 “พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิและ โอกาสโดยปราศจากความแตกต่าง และปราศจากข้อจากัดอันไม่สมควร...(c) ในการที่จะเข้าถึง บริการสาธารณะในประเทศของตน ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแห่งความเสมอภาค ข้อ 26 บุคคลทั้ง ปวงย่อมเสมอกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ในกรณีนี้กฎหมายจะต้องห้ามการเลือกปฏิบัติใด ๆ และ ต้องประกันการคุ้มครองบุคคลทุกคนอย่างเสมอภาค และเป็นผลจริงจังจากการเลือกปฏิบัติ.. หรือสถานะอื่น ๆ” เห็นได้ว่ากติการะหว่างประเทศทั้ง 4 ข้อนี้มีความสอดคล้องกับปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 3 ข้อ 7 และข้อ 21 (1) (2) ที่ให้การยอมรับและรับรองคุ้มครอง สิทธิด้านสุขภาพประชาชนภายในรัฐของตนที่เป็นภาคีสมาชิก ให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขทาง การแพทย์ จะต้องมีความเสมอภาคและต้องไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าบุคคลจะอยู่สถานะใดก็ตาม สาหรับประเทศไทยการเข้ารับบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตน เกี่ยวกับระบบการส่งต่อ และค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ตามสิทธิประกันสังคม มีรูปแบบ และกลไกเป็นข้อกาหนดให้ปฏิบัติ ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสาหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทางาน ตามข้อ 4 กาหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับบริการ ทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่สานักงานประกันสังคมกาหนดสิทธิในการเข้ารับบริการทาง การแพทย์แล้ว หากสถานพยาบาลดังกล่าวไม่สามารถให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตนได้ และได้ส่งไปรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าระหว่างสถานพยาบาล ซึ่งเป็นข้อ กาหนดการปฏิบัติเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสานักงานประกันสังคมกับสถานพยาบาลผู้เป็น คู่สัญญา ส่วนค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลกาหนดไว้ข้อ 3 ให้สานักงานประกันสังคม จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลคู่สัญญา โดยสานักงานประกันสังคมได้ออก หนังสือแจ้งเวียนแนวปฏิบัติ ที่ รง 0609/ ว907 ลงวันที่ 13 กันยายน 2548 เรื่อง แนวปฏิบัติ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3