การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

2 จัดการค่ารักษาพยาบาล โดยกรมบัญชีกลางสังกัดกระทรวงการคลัง อยู่ภายใต้พระราช กฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ส่วนกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ ใช้สิทธิสวัสดิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) คุ้มครองสิทธิของประชาชนทั่วไปที่ไม่ มีสิทธิในสวัสดิการข้าราชการและสิทธิประกันสังคม ผู้รับการรักษาพยาบาลไม่เสียค่าใช้จ่าย ครอบคลุมประชากรประมาณ 47.54 ล้านคนในปี พ.ศ.2565 บริหารค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล ผ่านสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นนิติบุคคล อยู่ในกากับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และภายใต้พระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ขณะที่กลุ่มผู้ประกันตนผู้ใช้สิทธิประกันสังคม คุ้มครองสิทธิประโยชน์เฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานในภาคเอกชนหรือลูกจ้างหน่วยงานรัฐที่นาระบบ ประกันสังคมมาใช้รวมถึงลูกจ้างมหาวิทยาลัยในกากับของรัฐครอบคลุมลูกจ้างผู้ประกันตน ประมาณ 12.10 ล้านคนในปี พ.ศ.2565 (สานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม, 2565) ส่วนค่ารักษาพยาบาลใช้แบบเหมาจ่ายรายหัวในปี พ.ศ. 2563 บริหารค่าใช้จ่ายโดยสานักงานกองทุนประกันสังคมสังกัดกระทรวงแรงงาน และอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยมีคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม เป็นผู้กาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลต่าง ๆ สานักงาน ประกันสังคมกาหนดให้นายจ้าง ลูกจ้างและรัฐบาลร่วมกันจ่ายเงินสมทบเข้าเป็นกองทุน ประกันสังคม เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์หลายด้านรวมถึงด้านการรักษาพยาบาลของลูกจ้างที่ เจ็บป่วยหรือประสบอันตรายอันมิใช่เนื่องมาจากการทางาน เมื่อรัฐจัดสวัสดิการหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนโดยอยู่ภายใต้กฎหมายแต่ละ ฉบับที่มีหลักการ แนวคิด หน่วยงานหรือองค์กรกากับดูแลเป็นอิสระแยกต่างหากจากกัน ย่อมส่งผลให้ระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 กลุ่มมีความแตกต่างกันหลากหลายมิติ ทั้งด้าน สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาลบริการทางการแพทย์ โดยเฉพาะการ กาหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์ให้กับสถานพยาบาลกรณีของระบบการ ส่งต่อผู้ป่วยทั้ง 2 ประเภท คือ ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของระบบประกันสังคมที่เป็นประเด็น ปัญหาสาคัญอยู่ในปัจจุบัน ปัญหาระบบการส่งต่อผู้ป่วยของระบบประกันสังคม มี 2 ระบบ คือ ระบบการส่งต่อ บริการทางการแพทย์กรณีทั่วไป กล่าวคือ เป็นกรณีที่โรงพยาบาลต้นสังกัดเป็นผู้นาส่งไปยัง โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า กรณีผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจาก การทางาน เมื่อมีความจาเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาตัวยังสถานพยาบาลอื่นที่มิใช่ สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกขึ้นทะเบียนสิทธิแต่แรก ด้วยเหตุสถานพยาบาลที่ ผู้ประกันตนเลือกกาหนดใช้สิทธินั้นขาดศักยภาพด้านแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์การ ให้บริการทางการแพทย์ และจาเป็นต้องส่งผู้ป่วยเข้าไปรักษาในสถานพยาบาลเขตพื้นที่ เดียวกันที่มีศักยภาพสูงกว่า และระบบที่สองเป็นระบบการส่งต่อกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วย ฉุกเฉิน กล่าวคือ เมื่อผู้ประกันตนได้รับอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลใดก็ได้ที่ใกล้ที่สุดแต่ในช่วงระยะเวลาเพียง 72 ชั่วโมงเท่ านั้น ซึ่งเมื่อครบ 72 ชั่วโมงผู้ประกันตนจะต้องกลับไปรับการรักษา ณ สถานพยาบาลที่ตนเลือกไว้ตามสิทธิ ด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3