การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
133 อาชีพอิสระ ซึ่งได้วางรูปแบบการบริหารและกาหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนบาเหน็จบานาญเพื่อ ผู้ที่ทางานในภาคเอกชน ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทางด้านประกันสังคมในกรณี เจ็บป่วย ย่อมหมายถึงการบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมให้ได้รับ การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและ เมื่อมีกรณีที่โรงพยาบาลที่ให้การดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น เกินศักยภาพย่อมจะได้รับสิทธิการส่งต่อการรักษาพยาบาล ไปยังโรงพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพ สูงกว่าโดยไม่ได้มีข้อจากัดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลจะต้องตามจ่ายหรือต้องรับผิดชอบ แต่อย่างใด เมื่อนาหลักประกันสุขภาพของต่างประเทศที่ใช้รูปแบบ กองทุนเดียว เช่น ราชอาณาจักรสวีเดน แบ่งประชาชนออกเป็นผู้ประกันตนและผู้ประกอบ อาชีพอิสระทั้งสองกลุ่มมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบไม่เท่ากันผู้ประกอบอาชีพอิสระจะมีอัตราเงิน สมทบที่สูงกว่าลูกจ้างทั่วไป แม้ทั้งสองกลุ่มจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนกับรัฐที่แตกต่างกัน แต่รัฐ ให้การคุ้มครองสิทธิด้านการบริการทางการแพทย์และการสงเคราะห์ครอบครัวเท่าเทียมกันใน รูปแบบของรัฐสวัสดิการรักษาได้ทั่วทุกแห่ง ขณะที่สาธารณรัฐเกาหลีประชาชนร่วมจ่ายเงินใน การบริการรักษาพยาบาล 30 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับรัฐบาล ผู้ป่วยสามารถไปพบแพทย์ใน โรงพยาบาลทั่วไปที่ใดก็ได้ตามต้องการ สาหรับประเทศมีหลักประกันสุขภาพรูปแบบหลายกองทุน เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีกองทุนความเจ็บป่วยเป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงกาไรเป็น ภาคเอกชนอยู่ภายใต้การกากับของรัฐ สมาชิกกองทุนความเจ็บป่วยมีสิทธิในการเลือกขึ้น ทะเบียนกับแพทย์และทันตแพทย์ และสิทธิใช้บริการนอกเวลาราชการแผนกฉุกเฉินของ โรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลได้โดยตรง ต้องผ่านระบบการส่ง ต่อจากแพทย์ที่ตนขึ้นทะเบียนไว้ ด้วยระบบประกันสังคมหรือประกันภาคบังคับส่งผลให้ ผู้ประกันตนเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างทั่วถึง ขณะที่ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใช้วิธีบูรณา การและครอบคลุมในการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ในระบบประกันสังคมมีกฎหมาย สาธารณสุข ครอบคุ้มลูกจ้างและผู้ประกอบอาชีพอิสระเพื่อให้เข้าถึงการให้บริการด้านสุขภาพ ส่วนประกันสุขภาพถ้วนหน้ารัฐบาลสนับสนุนค่าเบี้ยประกันแบบเต็มจานวน ส่วนเจ้าหน้าที่ของ รัฐมีกฎหมายเฉพาะในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ ทั้งสามกองทุนครอบคลุมด้านสุขภาพ อย่างทั่วถึง จากระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 4 ประเทศ พบว่าแม้แต่ละประเทศจะมี หลักประกันสุขภาพที่มีระบบและเงื่อนไขการให้บริการและการเก็บเงินสมทบแตกต่างกันก็ตาม แต่สุดท้ายคานึงถึงประโยชน์ด้านสุขภาพของประชาชนเป็นสาคัญ และที่เหมือนกันคือเพื่อ คุ้มครองสิทธิของประชาชนให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างเสมอภาคกันสอดคล้องกับหลัก สากลที่ให้ความรับรองคุ้มครองสิทธิสุขภาพของประชาชนทั่วโลก ขณะที่ประเทศไทยมีระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสวัสดิการข้าราชการ ให้บริการทางการแพทย์สุขภาพ สอดคล้องกับหลักสากลและต่างประเทศในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ด้านสุขภาพ และ ประชาชนสามารถการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง แต่อย่างไรก็ตาม กรณีการส่งต่อ ผู้ป่วยของประกันสังคมยังขาดศักยภาพด้านระบบการส่งต่อผู้ป่วย ไปรักษาพยาบาลใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3