การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม การวิจัยกาหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาระบบการส่งต่อบริการ ทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม จากผลการวิเคราะห์ในบทที่ 4 แสดงให้ เห็นถึงระบบการส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ และการบริหารจัดการ ค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ของผู้ใช้สิทธิในระบบประกันสังคมที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2558 มีความแตกต่างกับระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และระบบ สวัสดิการข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ทั้งที่กฎหมายทั้งสามฉบับมีเป้าหมายให้การคุ้มครองสิทธิหลักประกันสุขภาพของประชาชนไทย ทุกคนแม้ว่าผู้ใช้สิทธิจะอยู่ภายใต้กฎหมายที่แตกต่าง แต่กฎหมายไม่ควรกาหนดสิทธิการเข้าถึง บริการทางการแพทย์สาธารณสุขของประชาชนให้เกิดความเหลื่อมล้าไม่เสมอภาคกัน ระบบประกันสังคมมีหลักการส่งต่อผู้ป่วยโดยสถานพยาบาลต้นสังกัดที่ผู้ประกันตน เลือกใช้สิทธิแต่แรก ขาดศักยภาพด้านแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์การให้บริการทาง การแพทย์ จาเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาในสถานพยาบาลเขตพื้นที่เดียวกันที่มี ศักยภาพสูงกว่า ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2546 ข้อ 4 กาหนดให้สถานพยาบาลผู้ส่งต่อ ต้องรับผิดชอบค่าบริการทางการแพทย์ทั้งหมด ให้แก่สถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาล เป็นหน้าที่ของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล ของผู้ป่วยให้กับสถานพยาบาลผู้รับการส่งต่อ อันเป็นปัจจัยสาคัญนาไปสู่การใช้ดุลพินิจของ ผู้บริหารและแพทย์ของสถานพยาบาลในการตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาสถานพยาบาลอื่น ด้วยเหตุนี้ ทาให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์สาธารณสุขของรัฐได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ส่วนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ใช้หลักการเขตพื้นที่ร่วมบริหาร จัดการค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลในรูปแบบของการหักชาระบัญชีระหว่างกัน แต่มิได้กาหนดเรื่อง การผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของ สถานพยาบาลอื่น ให้กับ สถานพยาบาลที่เป็นผู้ส่งต่อแต่อย่างใดตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ. 2545 ประกอบ ข้อ 15 ข้อ 28 ข้อ 29 ของประกาศคณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ สาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3