การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
136 หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2563 ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้สิทธิบัตรทองสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์สาธารณสุขของรัฐได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ขณะที่ระบบสวัสดิการข้าราชการ มีรูปแบบให้สิทธิแก่ข้าราชการทุกคนสามารถเข้ารับการ รักษาพยาบาลของรัฐทุกแห่งหรือของเอกชนได้ที่เข้าร่วมโครงการ และสถานพยาบาลหรือผู้เข้ารับการ รักษาพยาบาลสามารถ เบิกค่ารักษาพยาบาลกับกรมบัญชีกลางโดยตรงตามหลัก เกณฑ์ กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ข้อ 19 และข้อ 23 ที่ มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ระบบการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเปรียบเทียบระบบการส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาล และการบริหารจัดการ ค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ของระบบประกันสังคม ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และระบบ สวัสดิการข้าราชการทั้ง 3 ระบบ สะท้อนถึงความไม่เสมอภาคของประชาชนผู้ใช้สิทธิระบบ ประกันสังคม ในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์สาธารณสุขของรัฐตามรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 47 กาหนดให้ประชาชนทุกคน มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ และ รับรองสิทธิความเสมอภาคตามมาตรา 4 ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ เสมอกัน นอกจากนี้ไม่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ให้ลดความ เหลื่อมล้าเข้าถึงระบบสุขภาพโดยตั้งเป้าหมายให้ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบ สุขภาพยั่งยืน และแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) กาหนดใน ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้าในระบบบริการสุขภาพ และธรรมนูญว่าด้วย ระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 กาหนดระบบสุขภาพในอีกระยะ10 ปีข้างหน้าให้สุขภาพ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนรัฐมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิสุขภาพบุคคลตั้งแต่เกิดจน ตาย ผลการวิเคราะห์การเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนผู้ใช้สิทธิระบบประกันสังคมในการ เข้าถึงบริการทางการแพทย์สาธารณสุขของรัฐในประเทศไทยแล้ว แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกับ หลักสากลกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ 4 ฉบับ ได้แก่ 1) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1984 รับรองคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนข้อ 21 (2) ให้ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการ สาธารณะในประเทศตนโดยเสมอภาค และข้อ 7 ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะ ได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด 2) กติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ค.ศ.1967 เน้นหลักการไม่เลือกปฏิบัติในข้อ 9 ให้รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนรวมทั้งการประกันสังคมและข้อ 12 (1) รับรองสิทธิของ ทุกคนที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้ 3) ส่วนกติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966 ข้อ 25 (c) ให้พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิ และโอกาส โดยปราศจากความแตกต่าง และปราศจากข้อจากัดอันไม่สมควร ในการเข้าถึงบริการ สาธารณะในประเทศของตนและข้อ 26 ให้บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอกันตามกฎหมาย และมีสิทธิได้รับ ความคุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมายโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ และ 4) อนุสัญญาแรงงาน ระหว่างประเทศ (ILO Convention) ฉบับที่102 ว่าด้วยการประกันสังคมมีฐานะเป็นกฎหมายสากล ให้ความสาคัญด้านสุขภาพของประชากรลูกจ้าง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3