การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
137 นอกจากนี้ระบบส่งต่อและการบริหารจัดการทางการแพทย์ของประกันสังคมมีความแตกต่าง กับกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบหลักประกันสุขภาพรูปแบบกองทุนเดียว ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ราชอาณาจักรสวีเดน และกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบหลักประกันสุขภาพหลายรูปแบบ ได้แก่ สาธารณรัฐ ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐเกาหลี ทั้ง 4 ประเทศดังกล่าวให้การคุ้มครองสิทธิประชาชนเข้าถึงบริการ สาธารณสุขอย่างทั่งถึงเท่าเทียมกันไม่ว่าประชาชนจะใช้สิทธิกองทุนในรูปแบบใดโดยคานึงถึงสุขภาพ ของประชาชนเป็นสาคัญ ดังนั้น สมควรนาประเด็นระบบการส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ และ การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ของผู้ใช้สิทธิในระบบประกันสังคม ปรับปรุงแก้ไข ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2546 เพื่อให้เกิดความเสมอ ภาคนาไปสู่การพัฒนากฎหมาย รูปแบบและกลไกระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์ของ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมให้มีประสิทธิภาพสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และได้รับ บริการสาธารณสุขของรัฐที่ไม่แตกต่างไปจากต่างประเทศและมาตรฐานหลักสากล และให้สอดคล้อง กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ผู้วิจัยจะได้อภิปรายผลของการวิจัยในหัวข้อ ต่อไป 5.2 อภิปรายผล จากการศึกษาและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบการส่งต่อบริการทาง การแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม กรณีผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอัน มิใช่เนื่องจากการทางาน ที่ผลักภาระค่ารักษาพยาบาลให้กับสถานพยาบาลผู้นาส่งต่อมีหน้าที่ต้องจ่าย ค่ารักษาพยาบาลให้กับสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่าย่อมส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการ ทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่มีความเหลื่อมล้าอย่างชัดเจนในรูปแบบและกลไกการส่งต่อผู้ป่วยใน ระบบประกันสังคม ประกอบด้วย 2 ประเด็น ดังนี้ 5.2.1 ประเด็นระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์ พบว่า ระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มี 2 ระบบ คือ ระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์กรณี ทั่วไป และระบบส่งต่อกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน สาหรับปัญหาของงานวิจัยที่ค้นพบ คือ ระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์กรณีทั่วไป เพราะเป็นกรณีที่โรงพยาบาลต้นสังกัดเป็นผู้นาส่งไป ยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า สาหรับผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจาก การทางาน เมื่อมีความจาเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาตัวยังสถานพยาบาลอื่นที่มิใช่สถานพยาบาลที่ ผู้ประกันตนเลือกขึ้นทะเบียนสิทธิแต่แรก เนื่องมาจากสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกใช้สิทธิการ รักษาพยาบาลนั้นขาดศักยภาพด้านแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์การให้บริการทางการแพทย์ จึงจาเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาในสถานพยาบาลเขตพื้นที่เดียวกันที่มีศักยภาพสูงกว่า ประกอบกับในปัจจุบันผู้ประกันตนที่เป็นผู้ป่วยมีความต้องการและคาดหวังต่อการรับบริการสุขภาพ และบริการทางการแพทย์มีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะที่ศักยภาพของระบบสุขภาพและบริการ ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลแต่ละแห่งในประเทศไทยมีไม่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของด้าน ความพร้อมของสถานพยาบาลที่รับและส่งต่อผู้ป่วยทั้งด้านบุคลากรและอุปกรณ์ที่มีความแตกต่างกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3