การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

3 ระบบการส่งต่อผู้ป่วยนี้ยังมีปัญหาด้านค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่ผลักภาระค่า รักษาพยาบาลให้กับสถานพยาบาลผู้นาส่งต่อมีหน้าที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับ สถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่าซึ่งอัตราค่ารักษาพยาบาลถูกกาหนดเป็นหลักเกณฑ์ ข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการการแพทย์ได้ออกประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสาหรับประโยชน์ทดแทนในกรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทางาน ประกาศวันที่ 21 มกราคม 2563 กาหนดให้สานักงานประกันสังคมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลที่กาหนด สิทธิในการรับบริการทางการแพทย์ที่เป็นคู่สัญญา ตามอัตราที่กาหนดโดยคานวณตามกลุ่ม วินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Groups : DRGs) เมื่อ ใดก็ตามหากสถานพยาบาลคู่สัญญ าประกันสังคมต้องส่งต่อผู้ป่วยไป สถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพบริการทางการแพทย์สูงกว่า กรณีนี้สานักงานประกันสังคมจะ จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่สถานพยาบาลคู่สัญญาที่สานักงานกาหนดสิทธิในการรับบริการ ทางการแพทย์ ตามอัตราที่กาหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคมในลักษณะของการเหมาจ่ายโดยคานวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Groups : DRGs) เท่านั้น แต่มิได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด เนื่องจาก มีค่าใช้จ่ายส่วนต่างเกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลอื่นซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนต่างนี้ เป็นภาระหน้าที่ของสถานพยาบาลผู้นาส่งต่อผู้ป่วยนั้น ต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ให้แก่สถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่าเป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายด้านการเงินให้กับ สถานพยาบาลที่เป็นผู้ส่งต่อผู้ป่วย ส่งผลต่อการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลที่ส่ง ต่อผู้ป่วยไป ณ สถานพยาบาลอื่น ทาให้สถานพยาบาลผู้ส่งต่อต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย และ มีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อเป็นอย่างมาก เมื่อสถานพยาบาลผู้ส่งต่อมีภาระหน้าที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างนี้ที่ ไม่สามารถเรียกเก็บจากสานักงานประกันสังคมเกิดปัญหาการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของ สถานพยาบาลผู้ส่งต่อที่ยังคงแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลถือเป็น สาเหตุและปัจจัยสาคัญต่อการบริหารจัดการที่สถานพยาบาลของคู่สัญญาระดับต่าง ๆ ประสบ ปัญหาอยู่นาไปสู่การใช้ดุลพินิจของผู้บริหารและแพทย์ของสถานพยาบาลต่อการตัดสินใจส่งต่อ ผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่นหรือไม่ ด้วยเหตุที่สถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับสานักงาน ประกันสังคมจะได้รับเงินเป็นระบบเหมาจ่ายรายหัว ปี พ.ศ. 2564 จานวนเงิน 2,839 บาท ต่อคนต่อปี (สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2563, หน้า 76) หากในแต่ละเดือน สถานพยาบาลจาเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่ามีจานวนหลาย ราย ย่อมส่งผลต่อการบริหารจัดการทางการเงินการคลังของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อ และ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยแต่ละรายนั้นอยู่นอกเหนือการควบคุมของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อ อีกทั้ง ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2546 ตามข้อ 4 กาหนดให้สถานพยาบาลผู้ส่งต่อต้องรับผิดชอบค่าบริการทางการแพทย์ทั้งหมดให้แก่ สถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ดังกล่าว จึงเป็นปัจจัย สาคัญต่อการใช้ดุลพินิจของผู้บริหารสถานพยาบาลและมีผลต่อการตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3