การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

138 ในแต่ละระดับของสถานพยาบาลมีปัญหาและอุปสรรคในการรับและส่งต่อผู้ป่วยค่อนข้างมาก โดยพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคที่สาคัญเกี่ยวกับข้อจากัดในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ต้องส่ง ต่อผู้ป่วยในด้านต่าง ๆ หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านของอัตรากาลังของบุคลากรทางการแพทย์ จานวน เตียงที่จะรับผู้ป่วย ศักยภาพของโรงพยาบาลในการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาโรคที่มี ความรุนแรง ยุ่งยากและซับซ้อนแตกต่างกัน อีกทั้งมีอุปสรรคเกี่ยวกับระบบสิทธิการเบิกจ่ายค่า รักษาพยาบาลเพราะเนื่องจาก มีความแตกต่างของอัตราค่าบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาล ระดับสูงกว่าโดยเรียกเก็บจากสถานพยาบาลหลัก จึงส่งผลให้มีข้อจากัดในการให้บริการ รักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เกินศักยภาพของโรงพยาบาลหลัก และเนื่องจ ากระบบการเบิกจ่ายเงิน ค่าบริการทางการแพทย์ของระบบประกันสังคมที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลคู่สัญญาโดยวิธีการเหมา จ่ายรายหัวในกรณีผู้ป่วยนอกและส่วนของกรณีผู้ป่วยในโดยมีวิธีการจ่ายตามอัตราที่กาหนดโดย คานวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม Diagnosis Related Groups (DRG) สาหรับประเด็นการแบกภาระค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อ จากการศึกษายังพบว่าเมื่อมี กรณีที่สถานพยาบาลคู่สัญญาประกันสังคมต้องส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพบริการ ทางการแพทย์สูงกว่ากรณีนี้สานักงานประกันสังคม จะจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่สถานพยาบาล คู่สัญญาที่สานักงานกาหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์ ตามอัตราที่กาหนดไว้ในประกาศ คณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม โดยคานวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม Diagnosis Related Groups (DRG) เท่านั้น แต่มิได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายส่วนต่างเกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลอื่น ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนต่าง นี้เป็นภาระหน้าที่ของสถานพยาบาลผู้นาส่งต่อผู้ป่วยนั้น ต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ให้แก่สถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่าเป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายด้านการเงินให้กับ สถานพยาบาลที่เป็นผู้ส่งต่อผู้ป่วย ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลที่ส่ง ต่อผู้ป่วยไป ณ สถานพยาบาลอื่น ทาให้สถานพยาบาลผู้ส่งต่อต้องแบกภาระค่าใช้จ่าย และมีผลต่อ สถานะทางการเงินของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อเป็นอย่างมากเมื่อสถานพยาบาลผู้ส่งต่อมีภาระหน้าที่ ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างเช่นนี้ที่ไม่สามารถเรียกเก็บจากสานักงานประกันสังคม ย่อมส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่มีความเหลื่อมล้าอย่างชัดเจน ผลการวิจัยตามประเด็นดังกล่าวนี้จึงเป็นปัญหาอุปสรรคของการดาเนินงานระบบประกันสังคม เพราะมีวิธีการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ ในปัจจุบันทาให้สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนเลือกใช้สิทธิระบบบริการทางการแพทย์กรณี เจ็บป่วยในอันที่จะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการให้บริการทางการแพทย์ รวมทั้งในกรณีการส่งต่อ ผู้ประกันตนไปรับการรักษา ณ สถานพยาบาลอื่นที่มีขีดความสามารถหรือศักยภาพในการ รักษาพยาบาลที่สูงกว่าย่อมทาให้ผู้ประกันตนแม้จะต้องร่วมจ่ายเงินสมทบเข้าระบบประกันสังคมแล้ว ก็ยังไม่ได้รับการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหาก พิจารณาในส่วนของสิทธิสวัสดิการข้าราชการและสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งไม่ต้อง ร่วมจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนแต่อย่างใด กลับได้รับการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่เหนือกว่าจึงเกิด ความไม่เท่าเทียมกันของระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยทั้งที่เป็นประชาชนชาวไทย เหมือนกันจึงควรได้รับการดูแลในส่วนของบริการทางการแพทย์อันเป็นการจัดบริการสาธารณะของรัฐ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3