การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

139 อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันซึ่งจะเป็นการลดความเหลื่อมล้าของระบบหลักประกันสุขภาพ และเมื่อ พิจารณาประกอบกับกฎหมายต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศที่ใช้รูปแบบของระบบประกันสุขภาพ รูปแบบเดียว เช่น ราชอาณาจักรสวีเดน และสาธารณรัฐเกาหลี หรือประเทศที่ใช้ระบบประกัน สุขภาพหลายรูปแบบ อาทิเช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่งเมื่อพิจารณา แล้วเห็นได้ว่าทุกประเทศที่นาระบบประกันสังคมไปใช้ต่างได้บัญญัติรับรองคุ้มครองสิทธิของ ประชาชนผู้มีสิทธิในการรักษาพยาบาลให้ได้รับการรักษาพยาบาลเกี่ยวกับบริการทางการแพทย์และ ย่อมชี้ให้เห็นได้ว่าในกรณีที่การรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลต้นสังกัดเกินศักยภาพย่อมมีสิทธิในการ ได้รับการส่งต่อการรักษาพยาบาลไปยังสถานพยาบาลที่มีศักยภาพที่สูงกว่าตามลาดับศักยภาพของ สถานพยาบาลที่ได้กาหนดไว้อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันซึ่งสอดคล้องตามหลักสากลของระบบประกัน สุขภาพอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นหลักอันพึงปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในลักษณะที่เสมอภาค โดยไม่มีความแตกต่าง จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงสะท้อนให้เห็นว่า เป็นหน้าที่ของรัฐในการดาเนินการตาม เจตนารมณ์ของกฎหมายให้เป็นรูปธรรม เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 55 กาหนดให้รัฐมีหน้าที่ดาเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขเป็นการทาเพื่อให้เกิด ประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง จึงเป็นปัญหาที่สมควรจะได้รับการแก้ไขเพื่อให้ผู้ประกันตนได้เข้ารับ บริการทางการแพทย์อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพและเพียงพอเป็นไปตามมาตรฐานหลักสากลที่ ได้รับรองสิทธิหลักประกันด้านสุขภาพประกอบกับจากข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้เชี่ยวชาญได้ เสนอให้สานักงานประกันสังคมมีอานาจในการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ในกรณีส่งต่อเป็นลักษณะ ของรูปแบบการหักชาระบัญชีระหว่างกัน (Clearing House) และการปรับระบบการเบิกจ่ายค่า รักษาพยาบาลไม่ให้เกิดกรณีการเกินกรอบของสิทธิการเบิกจ่ายให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับ เทคโนโลยีในปัจจุบัน และเพื่อให้สอดคล้องหลักการด้านบริการทางการแพทย์ในระบบประกันสังคม ที่ได้กาหนดไว้ในอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Convention) ฉบับที่ 102 ค.ศ. 1952 ว่า ด้วยการประกันสังคม PART II. MEDICAL CARE (ดูแลรักษาทางการแพทย์) โดยให้ความคุ้มครอง สิทธิขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวกับสิทธิสุขภาพให้เหมาะสมกับความเป็นมนุษย์เพื่อพัฒนาบรรดามาตรการและ กลไกทั้งในประเทศและระดับนานาชาติโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นไป อย่างมีระบบมาตรฐานเดียวกันเป็นไปตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 (Universal Declaration of Human Rights, 1948) โดยให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวกับ สิทธิสุขภาพให้เหมาะสมกับความเป็นมนุษย์ อีกทั้งเพื่อให้สอดรับกับทฤษฎีว่าด้วยความยุติธรรมและหลักว่าด้วยความเสมอภาคจึงเป็นสิ่ง สาคัญในการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคม ให้ประชาชนไม่ว่าอยู่สถานะใดสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้เสมอภาคกัน โดยเฉพาะเกี่ยวกับกรณีเจ็บป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงขึ้น และ เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ที่ได้กาหนดกรอบยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ทางสังคม และเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการพัฒนาระบบส่งต่อบริการทาง การแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3