การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

140 เป็นธรรมได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมและเสมอภาคกันโดยไม่มี การเลือกปฏิบัติอย่างยั่งยืน เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้เกิดเป็นรูปธรรมในส่วนของการดาเนินการปฏิรูปประเทศด้านระบบหลักประกัน สุขภาพตามบทบัญญัติ มาตรา 258 ช.(4) “ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและ ประโยชน์จากการบริการจัดการและการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน ” เพราะฉะนั้น เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนได้เข้าถึงการรับบริการทางการแพทย์และได้รับ บริการสาธารณสุขของรัฐอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 จึงเห็นสมควรกาหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีส่งต่อ ผู้ประกันตนไปรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า โดยออกเป็นลักษณะของกฎหมาย ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมซึ่งสามารถนารูปแบบหรือกลไก ของระบบข้าราชการสาหรับการกาหนดให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากระบบส่งต่อผู้ป่วยให้กองทุน ประกันสังคมเป็นผู้รับผิดชอบเหมือนกับที่กรมบัญชีกลางเป็นผู้จ่ายเหมือนเช่นของระบบสวัสดิการ ข้าราชการ 5.2.2 ประเด็นการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ พบว่า รูปแบบการบริหาร จัดการค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อผู้ป่วย ยังมีอุปสรรคและรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการ รักษาพยาบาลของสถานพยานผู้รับการส่งต่อ และเป็นปัจจัยสาคัญนาไปสู่การใช้ดุลพินิจของผู้บริหาร และแพทย์ของสถานพยาบาลต่อการตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่นอย่างมีนัยยะสาคัญ ด้วยเหตุที่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2546 ตามข้อ 4 กาหนดให้สถานพยาบาลผู้ส่งต่อต้องรับผิดชอบค่าบริการทางการแพทย์ทั้งหมดให้แก่สถานพยาบาลที่ มีศักยภาพสูงกว่าย่อมชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงรูปแบบบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของกองทุน ประกันสังคมที่มีผลต่อการตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพที่ดีกว่า หากนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยของประกันสังคม เปรียบเทียบกับหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติและสวัสดิการข้าราชการ พบว่า การส่งต่อของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง)มีเขต พื้นที่ร่วมบริหารจัดการค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลในรูปแบบของการหักชาระบัญชีระหว่างกัน มิได้ กาหนดเรื่องการผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลอื่นให้กับ สถานพยาบาลที่เป็นผู้ส่งต่อแต่อย่างใด และมีระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมค่าใช้จ่ายตามมาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ประกอบ ข้อ 15 ข้อ 28 ข้อ 29 ของ ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการบริหาร จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่วนระบบการส่งต่อผู้ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการเข้ารับ การรักษาพยาบาลของรัฐทุกแห่งหรือของเอกชนได้ที่เข้าร่วมโครงการ และสถานพยาบาลหรือผู้เข้ารับ การรักษาพยาบาลสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลโดยตรงกับกรมบัญชีกลางที่มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการควบคุมค่าใช้จ่าย ตามข้อ 19 และข้อ 23 ของหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการ เบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2533 ประกอบมาตรา 14 แห่งพระราช กฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ขณะที่ระบบการส่งต่อของสานักงาน ประกันสังคมเกี่ยวกับการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ แสดงให้เห็นความแตกต่าง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3