การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

141 ของระบบการส่งต่อประกันสังคมขาดการพัฒนาทั้งด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย และการผลักภาระค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลให้กับสถานพยาบาลคู่สัญญาส่งผลต่อการเข้าถึงบริการทาง การแพทย์ของกลุ่มผู้ประกันตนสะท้อนให้เห็นความแตกต่างและเหลื่อมล้าในระบบการส่งต่อเข้ารับ บริการทางการแพทย์ในระบบหลักประกันสุขภาพทั้งสามระบบ แสดงให้เห็นว่าการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ของระบบ ประกันสังคมไม่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ที่มุ่งเน้นการบริหาร จัดการเป็นเลิศเพื่อให้ประชาชนสุขภาพดี อีกทั้งไม่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ องค์การสหประชาชาติที่เน้นการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในทุกช่วงอายุการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development) ดังนั้น ควรพัฒนาระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคมของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความเป็นธรรมได้รับบริการ สาธารณสุขของรัฐให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมและเสมอภาคกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติอย่าง ยั่งยืน เพื่อเป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานและเข้าถึงบริการทางการแพทย์ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 47 บัญญัติให้บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุข ของรัฐ ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ 5.3 ข้อเสนอแนะ จากข้อค้นพบการวิจัยและข้อกฎหมายเกี่ยวกับระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์ของ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม นาไปสู่การจัดทาปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในรูปแบบ “ร่างประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตรา ค่าบริการทางการแพทย์กรณีส่งต่อผู้ประกันตนไปรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า สาหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทางาน” สามารถ สรุปเป็นประเด็นตามโครงสร้าง ร่างประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฯ และข้อเสนอเชิงนโยบาย ดังต่อไปนี้ 5.3.1 ประเด็นตามโครงสร้างร่างประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฯ ข้อ 1 ความหมายคานิยาม ในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฯ ดังกล่าวได้รวบรวมข้อมูลจากกฎหมาย พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ คร.260/2561 คาพิพากษา ศาลปกครองชั้นต้นคดีแดงที่ 92/2563 ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม และหนังสือเวียนแนวทางปฏิบัติกรณีสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิส่งผู้ประกันตน ไปรักษาต่อ โดยผู้วิจัยได้ให้ความหมายนิยาม เช่น คาว่า“การส่งต่อ” “บริการทางการแพทย์” “สถานพยาบาลหลัก” และ “สถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า”เป็นคานิยามใหม่เนื่องจาก วัตถุประสงค์และความหมายแตกต่างกันกับประกาศคณะกรรมการการแพทย์ที่เคยใช้ในฉบับอื่น ๆ และเป็นคายามที่เพิ่มเข้ามาเพื่อให้มีความหมายครอบคลุม การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการทาง การแพทย์ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3