การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
4 สถานพยาบาลอื่น ด้วยเหตุที่ระบบการส่งต่อผู้ป่วยผลักภาระค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกินให้กับ สถานพยาบาลที่นาส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น และแบกรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่ เกินมาเป็นจานวนมากในแต่ละรายถือเป็นภาระค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อหากขืน ปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป ย่อมส่งผลต่อการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยหรือ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมอย่างแน่แท้ หากนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยของประกันสังคมเปรียบเทียบกับผู้ใช้สิทธิระบบ สวัสดิการข้าราชการและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นว่าระบบการส่งต่อผู้ใช้สิทธิ สวัสดิการข้าราชการนั้นสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลของรัฐทุกแห่งหรือของเอกชนได้ที่เข้า ร่วมโครงการ และสถานพยาบาลหรือผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล โดยตรงกับกรมบัญชีกลางที่มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ระบบการควบคุมค่าใช้จ่าย ตามข้อ 19 และ ข้อ 23 ของหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ประกอบมาตรา 14 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 (กรมบัญชีกลาง, 2553, หน้า 19) ส่วนระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) มีสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามเขตพื้นที่ร่วมบริหาร จัดการค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลในรูปแบบของการหักชาระบัญชีระหว่างกัน แต่มิได้กาหนดเรื่อง การผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลอื่นให้กับสถานพยาบาล ที่เป็นผู้ส่งต่อแต่อย่างใด อีกทั้งมีระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ประกอบ ข้อ 15 ข้อ 28 ข้อ 29 ของ ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดาเนินงานและการ บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2563 เห็นได้ว่า ระบบสวัสดิการข้าราชการ และระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีการบริหารจัดการและสามารถควบคุมค่ารักษาพยาบาลที่เป็น ค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ระบบการส่งต่อผู้ป่วยของระบบกองทุนประกันสังคมยังขาด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่มีต่อผู้ประกันตนเป็นปัญหาอุปสรรคในการส่งต่อที่ผู้ประกันตน เผชิญอยู่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของรัฐ ขาดระบบควบคุมค่ารักษาพยาบาล แต่ผลักภาระค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกินให้กับสถานพยาบาลผู้ส่งต่ออย่างไม่เป็นธรรม สิทธิของประชาชนทุกคนในการได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กาหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุข ของรัฐบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ประกอบกับกาหนดด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกันย่อม หมายความว่ารัฐธรรมนูญรับรองสิทธิของบุคคลทุกคนไม่ว่าประชาชนจะประกอบอาชีพ รับราชการ ประกอบอาชีพอิสระหรืออาชีพลูกจ้างภาคเอกชนหรือหน่วยงานรัฐ ล้วนแต่พึงมี สิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ (พ.ศ.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3