การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

5 2561-2580) มุ่งพัฒนาด้านสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี การเตรียมพร้อมด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ มีความมั่นคงในชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอ ภาคทางสังคมอย่างยั่งยืน ดังนั้น ปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยของระบบประกันสังคม และปัญหาการ ใช้ดุลพินิจของสถานพยาบาลผู้ส่งต่อ ย่อมส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของ ผู้ประกันตน เมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิสวัสดิการข้าราชการและสิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติแล้วยังมีความเหลื่อมล้าอย่างชัดเจนในรูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยของระบบประกันสังคม ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับระบบการส่งต่อ บริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ให้ประชาชนไม่ว่าอยู่สถานะใด สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้เสมอภาคกัน จะนาไปสู่การพัฒนากฎหมาย รูปแบบ และกลไกระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมให้มี ประสิทธิภาพสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐตาม บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาความสาคัญของปัญหาระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์ของ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับระบบการส่งต่อของหลักประกัน สุขภาพในประเทศไทย 1.2.3 เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์และการบริหาร จัดการของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมของประเทศไทยและต่างประเทศ 1.2.4 เพื่อพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคมให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสวัสดิการ ข้าราชการ 1.3 คาถามวิจัย ระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเกี่ยวกับการ บริหารจัดการค่าใช้จ่ายระหว่างสานักงานประกันสังคมกับโรงพยาบาลคู่สัญญาและระหว่าง โรงพยาบาลหลักกับโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าที่เป็นผู้รับการส่งต่อในปัจจุบันมี ประสิทธิภาพเพียงพอเทียบเท่ากับระบบราชการและหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือไม่ อย่างไร 1.4 สมมติฐานของการวิจัย ระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเกี่ยวกับการ บริหารจัดการค่าใช้จ่ายระหว่างสานักงานประกันสังคมกับโรงพยาบาลคู่สัญญาและระหว่าง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3