การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนเอกสารและวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทนี้ เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ค้นหาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และกฎหมายที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบส่งต่อบริการทาง การแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมของประเทศไทยเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ เกี่ยวกับระบบการส่งต่อของผู้ประกันตน และได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพและสร้างความเป็นธรรม โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้ 2.1 แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการประกันสังคม 2.2 ระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ 2.3 หลักการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ ของระบบหลักประกันสุขภาพ 3 ระบบ 2.4 รัฐสวัสดิการด้านสุขภาพ 2.5 ทฤษฎีว่าด้วยการบริการสาธารณะ 2.6 การพิทักษ์สิทธิประโยชน์และความต้องการของมนุษย์ 2.7 ทฤษฎีความยุติธรรมและความเสมอภาค 2.8 หลักสิทธิมนุษยชนกับสิทธิสุขภาพ 2.9. แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพ 2.10 กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ 2.11 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการประกันสังคม 2.1.1 ความหมายของการประกันสังคม ระบบประกันสังคม เป็นสวัสดิการในการรักษาพยาบาลและสิทธิประโยชน์ ทดแทนอื่น ๆ ที่รัฐบาลจัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันและเป็นการช่วยเหลือให้แก่ลูกจ้าง หรือเรียกว่า “ผู้ประกันตน” โดยที่ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ร่วมกับเงินสมทบจากนายจ้างและรัฐบาล ทั้งนี้ ได้มีการให้ความหมายทั้งต่างประเทศ และประเทศไทย ซึ่งแตกต่างกันไปตามบริบทของประเทศนั้น ๆ ซึ่งมีองค์กร หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายหลายท่านได้ให้คานิยามความหมายของคาว่า “การประกันสังคม” ไว้น่าสนใจดังรายละเอียดต่อไปนี้ 2.1.1.1 ความหมายของการประกันสังคมในต่างประเทศ อ ง ค์ ก า ร แ ร ง ง า น ร ะ ห ว่ า ง ป ร ะ เท ศ ( International Labour Organization) ได้ให้ความหมายของการประกันสังคม คือ การค้าประกันในทางสุขภาพและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3