การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
10 ฐานะทางเศรษฐกิจของเอกชนแต่ละคน รวมตลอดถึงผู้อยู่ในอุปการะเมื่อต้องเผชิญกับความ ขาดแคลนรายได้ อันเนื่องมาจากการสูญเสียรายได้ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีรายได้ ไม่เพียงพอแก่การครองชีพ ด้วยการสร้างหลักประกันในรูปแบบต่าง ๆ ที่มุ่งหมายโดยตรงต่อ การให้ความคุ้มครองในอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย คลอดบุตร ภยันตรายต่าง ๆ การพิการหรือ ทุพพลภาพการชราภาพและว่างงาน เป็นต้น (กรมประชาสงเคราะห์, 2522, หน้า 20 - 21) ในขณะเดียวกันได้มีนักวิชาการของต่างประเทศให้ความหมายของการประกันสังคม ได้แก่ อัลเบิร์ต เอช. โมวเบรย์ (Albert H. Mowbray) การประกันสังคม คือ ความพยายามของ รัฐบาลในอันที่จะใช้หลักประกันให้เกิดผลในทางป้องกันเพื่อมอบให้ความยากจนในเมืองต้อง เพิ่มขึ้น และหาทางที่จะบรรเทาความยากจนที่เกิดขึ้นให้น้อยลง (จิราภรณ์ เกสรสุจริต, 2545, หน้า 9) และราล์ฟ.เอฟ.แบลนซาร์ค บรรณาธิการฝ่ายบรรสารประกันภัยแห่งบริษัท แม็คกรอว์ ฮิลล์บุค จากัด แห่งนิวยอร์คและลอนดอน การประกันสังคม คือ การประกันในแบบต่าง ๆ ที่ รัฐบาลจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะวางหลักประกันให้ประชาชนมีความมั่นคงทางสังคม ซึ่งอาจเป็นวิธีบังคับการประกันตนโดยการบริหารของรัฐหรือสมัครใจโดยความสนับสนุนของ องค์การเป็นเอกเทศ (รัชยา กุลวานิชไชยนันท์ 2535, หน้า 9) 2.1.1.2 ความหมายของการประกันสังคมในประเทศไทย ระบบประกันสังคม คือ ระบบที่ให้การประกันต่อบุคคลในสังคมที่มี ปัญหาหรือได้รับความเดือดร้อนทางการเงิน เนื่องจากการประสบเคราะห์ภัย หรือมีเหตุการณ์ อันทาให้เกิดปัญหาในการดารงชีพซึ่งต้องการได้รับความช่วยเหลือ การประกันสังคมจึงเป็นการ ร่วมมือกันระหว่างประชาชนในสังคมเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้วยการรวบรวมเงินทุนเข้า กองทุนร่วมกัน และเฉลี่ยความเสี่ยง หรือร่วมกันเสี่ยงต่อเคราะห์ภัยหรือปัญหาความเดือดร้อน ที่อาจจะเกิดขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบสวัสดิการที่รัฐจัดให้มีขึ้นเพื่อให้หลักประกันแก่ ประชาชนว่า ประชาชนจะได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจหรือด้านการเงินในระดับหนึ่ง เมื่อเขาต้องประสบกับภาวะความเดือดร้อนจากการสูญเสียรายได้เนื่องจากการต้องว่างงาน จากการมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษอันส่งผลกระทบต่อการดารงชีวิตหรือความเป็นอยู่ ซึ่งประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการสร้างหลักประกันดังกล่าวก็ได้แก่ผู้ที่ส่งเงินสมทบร่วม เป็นกองทุนซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขอันก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองหรือได้รับ ประโยชน์ทดแทนการสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้น (วิจิตรา ฟุ้งลัดดา 2533, หน้า 152) ทั้งนี้ โดยมี กฎหมายประกันสังคมกาหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนประกันสังคมขึ้นโดยให้ลูกจ้างหรือผู้สมัคร เข้าประกันตน นายจ้าง และรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบเพื่อใช้กองทุนดังกล่าวเป็นหลักประกัน ให้แก่ลูกจ้างและผู้สมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนได้รับการสงเคราะห์เมื่อประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือตายอันมิใช่เนื่องจากการทางาน คลอดบุตร ชราภาพ และว่างงาน รวมทั้งการสงเคราะห์ บุตรซึ่งจะทาให้ชีวิตของลูกจ้างและสังคมมีความมั่นคงขึ้น (พินิจ ทิพย์มณี, 2551, หน้า 359) การประกันสังคม (Social Insurance) ตามความหมายของสานักงาน ประกันสังคม หมายถึง การที่ประชาชนผู้มีรายได้แต่ละคนได้มีส่วนช่วยตนเองหรือครอบครัว โดยร่วมกันเสี่ยงภัยหรือช่วยเหลือบาบัดทุกข์ยากเดือดร้อนซึ่งกันและกันระหว่างผู้มีรายได้ ในสังคมด้วยการออกเงินสมทบเข้ากองทุนกลางที่เรียกว่า กองทุนประกันสังคม โดยมีนายจ้าง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3