การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

11 ลูกจ้าง และในบางโครงการมีรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบเข้ากองทุนนี้ด้วย ซึ่งกองทุนนี้จะจ่าย ประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ส่งเงินสมทบ เมื่อเกิดเคราะห์กรรมหรือความเดือดร้อนโดยรัฐ เป็นผู้รับผิดชอบดาเนินการ ดังนั้น การประกันสังคมจึงเป็นสวัสดิการสังคมในรูปแบบหนึ่งที่ยึด หลักพึงตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประชาชน แม้จะมีเหตุการณ์ที่ต้องทาให้ขาด แคลนรายได้ก็สามารถดารงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข (สุจิตรา บุญชู, 2537, หน้า 5) สาหรับการประกันสังคมในมุมมองของนักวิชาการประเทศไทยการ ประกันสังคมเป็นโครงการที่รัฐจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้หลักประกันแก่ประชาชนให้มี ความมั่นคงในการดารงชีพ โดยมีหลักการให้ประชาชนที่มีรายได้ประจาออกเงินสมทบเข้าสู่ กองทุนกลางเงินสมทบนี้ในโครงการบางประเภท นายจ้างจะต้องร่วมออกเงินสมทบด้วย และ ในกรณีที่รัฐบาลเข้าร่วมออกเงินสมทบด้วย กองทุนนี้จ่ายให้แก่ประชาชนผู้ส่งเงินเมื่อประสบ อุบัติเหตุจากการทางาน ในเรื่องการว่างงาน ตลอดจนการชราภาพ (นิคม จันทรวิทุร 2528, หน้า 5) หรืออาจจะกล่าวได้ว่าการประกันสังคมเป็นรูปแบบการสร้างหลักประกันให้กับลูกจ้าง โดยอยู่บนรากฐานความเชื่อที่ว่ารายได้ของตนมีความผันผวนเปลี่ยนแปลงไปได้ แต่รายจ่าย ส่วนใหญ่โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่จาเป็นในการดารงชีพจะปรับเปลี่ยนไม่ค่อยได้ เช่น รายจ่าย เกี่ยวกับปัจจัย 4 รายจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าการศึกษาบุตร เป็นต้น การประกันสังคมจึงเป็น การสร้างหลักประกันไว้สาหรับเหตุฉุกเฉินในอนาคตเมื่อแรงงานไม่มีรายได้ เช่น ตกงาน เจ็บป่วย หรือพิการ ก็จะมีรายได้ส่วนหนึ่งมาไว้สาหรับชดเชยรายจ่ายที่จาเป็น (บุญชนะ อัตถา กร, 2517, หน้า 4) ในขณะเดียวกันได้มีนักวิชาการที่มีความเห็นสนับสนุนไว้ว่า การ ประกันสังคม หมายถึงการประกันภัยให้แก่ประชาชนในสังคมวงกว้างกว่าการประกันภัย ภาคเอกชน ได้แก่ การที่รัฐบาลหนุนหลังหรือจัดการให้นายจ้าง ลูกจ้าง จัดระบบประกันใน รูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงภัยแก่บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง การประกันสังคมจึงเป็น โครงการประเภทที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพ เพื่อรักษาพยาบาลที่เจ็บไข้ การประกันรายได้ เมื่อตกงาน การประกันรายได้ยามชราพ้นวัยทางาน เป็นต้น (อมร รักษาสัตย์, 2533, หน้า 7) จากความหมายของการประกันสังคม จึงกล่าวได้ว่าเป็นสวัสดิการอย่าง หนึ่งที่รัฐวางโครงสร้างให้สังคมมีความมั่นคง และทาให้ประชาชนมีความสุข โดยให้ได้รับความ ช่วยเหลือยามที่เดือดร้อนจาเป็นเพื่อที่จะไม่กลายเป็นภาระต่อสังคมตามหลักการที่ก่อให้เกิด ความมั่นคงทางสังคม (Social Security) รัฐเองก็มีภาระรับผิดชอบที่ต้องให้การช่วยเหลือแก่ผู้ ประสบความเดือดร้อนจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในรูปของการประชาสงเคราะห์และ การสาธารณสุข ส่วนนายจ้างก็ต้องดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทางาน หรือ การรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง แต่การดาเนินการของรัฐมีข้อจากัดด้านงบประมาณ การดาเนินงานของนายจ้างก็มีขอบเขตเพียงที่เกี่ยวข้องกับการทางานเท่านั้น แม้นายจ้าง บางรายจะตกลงกับลูกจ้างให้มีระบบเงินสะสม โดยทั้งนายจ้าง และลูกจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อให้ลูกจ้างมีรายได้เลี้ยงชีพ เมื่อต้องพ้นจากการเป็นลูกจ้าง ประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับก็ยัง เป็นประโยชน์ส่วนน้อยเมื่อเทียบกับความจาเป็นที่ลูกจ้างมีอยู่ (วิชัย โถสุวรรณจินดา, 2533, หน้า 3) จึงถือได้ว่าเป็นโครงการบริหารทางสังคมในระยะยาวที่รัฐได้ดาเนินการโดยให้ ประชาชนผู้มีรายได้แต่ละคนได้มีส่วนช่วยเหลือตนเองหรือครอบครัวโดยช่วยเหลือซึ่งกันและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3