การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
12 กันระหว่างผู้มีรายได้ทางสังคมด้วยการออกเงินสมทบกองทุนโดยมีนายจ้าง ลูกจ้าง และในบาง ประเทศมีรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบด้วย กองทุนนี้จะจ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับผู้ส่งเงินสมทบ เข้ากองทุน กองทุนนี้จะจ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับผู้ส่งเงินสมทบเมื่อเกิดเคราะห์กรรมหรือ ความเดือดร้อน (ปราณี สุขศรี, 2548, หน้า 1) จากความหมายของการประกันสังคมดังกล่าวข้างต้นอาจกล่าวโดยสรุป ได้ว่าการประกันสังคมเป็นเครื่องมือทางสังคมหรือวิธีการที่รัฐบาลออกกฎหมายมาบังคับใช้กับ ประชาชนในกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อป้องกันมิให้ประชาชนเหล่านั้นตกอยู่ในความเป็นอยู่ที่ต่ากว่า มาตรฐานการดารงชีวิตในสังคมนั้น ๆ จะยอมรับได้และเป็นการช่วยเหลือเมื่อต้องตกอยู่ ในสภาวะที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าอันส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการทามาหาเลี้ยง ชีพของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมกันเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้มีรายได้ในสังคม ด้วยการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมสามฝ่าย ประกอบด้วย ลูกจ้าง นายจ้าง และ รัฐบาล เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจหรือ เป็นผู้ประกันตนโดยถูกบังคับจากกฎหมายก็ตาม (พงศธร พอกเพิ่มดี และขนิษฐา ภูสีมุงคุณ, 2563, หน้า 26 - 30) 2.1.2 ความเป็นมาของการประกันสังคมในประเทศไทย การจัดระบบประกันสังคมในประเทศไทย ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีนโยบายที่จะให้ประชาชนมีหลักประกันที่มีความมั่นคงทางสังคม จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง ชื่อว่า “คณะกรรมการสังคมสงเคราะห์” โดยมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีกรรมการอีก 11 คน คณะกรรมการชุดนี้ทาหน้าที่หาวิธีการ ช่วยเหลือสงเคราะห์ประชาชนในด้านสวัสดิการทางสังคม ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันที่ มั่นคงทางสังคม เพื่อสนองนโยบายดังกล่าว คณะกรรมการชุดนี้มีความเห็นว่าควรนาวิธีการ ประกันสังคมมาใช้จึงได้เสนอแต่งตั้งอนุกรรมการชุดหนึ่งขึ้นเพื่อทาหน้าที่กาหนดหลักการและ วิธีการประกันสังคม คณะอนุกรรมการได้เสนอหลักการและวิธีการประกันสังคมในปลายปี พ.ศ. 2496 เพื่อให้คณะกรรมการนาผลของการพิจารณาเสนอต่อรัฐบาลหลังจากนั้นรัฐบาลได้ เสนอร่างกฎหมายประกันสังคมต่อรัฐสภา และรัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2497 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 พร้อมจัดตั้ง “กรมประกันสังคม” ขึ้นใน กระทรวงการคลังด้วย พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2497 มีทั้งหมด 66 มาตรา โดยมีประเภท ของการประกัน 6 ประเภท ได้แก่ การประกันการคลอดบุตร การสงเคราะห์บุตร การประกัน การเจ็บป่วย พิการ หรือทุพพลภาพ ประกันการชราภาพ และการฌาปนกิจ ทั้งนี้ผู้ประกันตน จะต้องมีรายได้ตั้งแต่เดือนละ 500 บาทขึ้นไป โดยรัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง จะต้องจ่ายเงิน เพื่อเข้าสมทบกองทุน ประกันสังคมตามอัตราที่กาหนดไว้ซึ่งแตกต่างกันไปตามรายได้และส่วน รับผิดชอบ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระและผู้ไม่มีงานทาสามารถสมัครเข้า ประกันสังคมได้ (จินตนา พรพิไลพรรณ, 2551, หน้า 269)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3