การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
13 แม้ว่าใน พ.ศ. 2497 จะได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกันสังคม แต่เนื่อง ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในขณะนั้นยังไม่อานวยให้นากฎหมายนั้นมาใช้บังคับ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2515 คณะปฏิวัติได้มีประกาศฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 กาหนดให้มีกองทุนเงินทดแทนขึ้นเพื่อเป็นทุนให้มีการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง ในความรับผิดของนายจ้างที่จะต้องจ่ายเงินทดแทนในกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทางาน หรือจากโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือโรคซึ่งเกิดขึ้นจากการทางาน เนื่องด้วยคณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่าการให้ความคุ้มครอง แรงงานแก่ลูกจ้างและการกาหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นสิ่งสาคัญสาหรับ การสร้างความเจริญก้าวหน้าของประเทศและเพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสมและ แก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปโดยวิธีปรองดองและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายนี่ จึงถือเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมของประเทศไทย เมื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและ สังคมได้เจริญก้าวหน้าไปมากประกอบกับปัญหาการใช้บังคับพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2497 ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในขณะนั้นจึงจา เป็นต้องตรา พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้น มา เพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่นโดยจัดตั้งกองทุนประกันสังคมขึ้นเพื่อให้ การสงเคราะห์แก่ลูกจ้าง และบุคคลอื่นซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือตายอัน มิใช่เนื่องจากการทางาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพและกรณี ว่างงาน นับจากวันนั้นถือได้ว่าประเทศไทยมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ (ณัฐพล ยิ่งกล้า, 2558, หน้า 2) 2.1.3 การประกันสังคม การประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันและความมั่นคงในการดารงชีวิตของ กลุ่มสมาชิก มีลักษณะเป็นการเฉลี่ยความสุขและความทุกข์ในกลุ่มสมาชิกด้วยกัน โดยให้ผู้มี รายได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ประกันสังคม ซึ่งเงินสมทบที่แต่ละคนจ่ายนั้นจะเป็นสิทธิ ประโยชน์เฉพาะตัวเท่านั้น ผู้ที่จ่ายเงินสมทบจะเรียกว่า “ผู้ประกันตน” เงินที่ได้จะนามา บริหารภายในองค์กร ซึ่งการเก็บเงินสมทบถือเป็นภาษีพิเศษ ดังนั้น จะเก็บจากบุคคลที่ กฎหมายกาหนดเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานของผู้ประกันตนในการ ดารงชีวิตให้ได้รับการรักษาพยาบาลและสามารถช่วยเหลือตนเองและครอบครัว พร้อมทั้ง สามารถดารงชีวิตได้ อย่างปกติสุขเมื่อประสบกับภาวะการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ ว่างงานรวมถึงการสงเคราะห์บุตร (สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, หน้า 76 - 78) วัตถุประสงค์ของหลักการประกันสังคมเพื่อให้ประชาชนทุกคนที่อยู่ในวัยทางาน ได้รับความคุ้มครองอย่างทั่วถึง รวมทั้งคุ้มครองไปถึงครอบครัว ตลอดจนเมื่อไม่สามารถทางาน ได้หรือต้องออกจากงานเมื่อพ้นวัยดังกล่าวไปแล้วด้วย อย่างไรก็ตามในระยะเริ่มต้นการ ประกันสังคมมักให้ความคุ้มครองกลุ่มเป้าหมายที่จากัด เช่น ครอบคลุมเฉพาะผู้ใช้แรงงานบาง ประเภทหรือผู้ใช้แรงงานที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีจานวน ลูกจ้างมากกว่า 20 คน หลังจาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3