การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
14 นั้นจึงค่อย ๆ ขยายความคุ้มครองออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับความ คุ้มครองจากการประกันสังคมมากขึ้นโดยลาดับ นอกจากนี้การประกันสังคมมักเริ่มโครงการ ด้วยการใช้กฎหมายบังคับกับลูกจ้างที่มีรายได้ประจาก่อน และเมื่อการประกันสังคมแบบบังคับ ได้ดาเนินการไปจนประสบผลดีและอานวยประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนได้อย่างดีแล้ว จึงอาจ ขยายออกไปสู่การประกันสังคมแบบสมัครใจ ซึ่งเป็นการให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้ามาร่วมอยู่ ในระบบการประกันสังคมด้วย โดยกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมบัญญัติให้ลูกจ้างที่อยู่ในข่าย บังคับแห่งกฎหมายดังกล่าวนี้ต้องเป็น “ผู้ประกันตน” อันได้แก่ ผู้ซึ่งจ่ายเงินสมทบอัน ก่อให้เกิดสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กองทุนประกันสังคมครอบคลุมลูกจ้างที่ทางานในสถาน ประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไป โดยลูกจ้างต้องมีอายุไม่ต่ากว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่ เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีผู้ประกันตนใดมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์แล้วแต่ยังเป็นลูกจ้างอยู่ก็ ให้ถือว่าผู้นั้นยังเป็นผู้ประกันตนต่อไป ทั้งนี้สถานประกอบการที่อยู่ในข่ายบังคับต้องยื่นแบบ รายการตามที่กฎหมายกาหนดต่อสานักงานประกันสังคมภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างนั้น เป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2.1.4 หลักการของการประกันสังคม หลักการสาคัญของการประกันสังคม คือ การให้ประชาชนในประเทศนั้น ได้ร่วมกันเสี่ยงภัย โดยสละเงินเข้ากองทุนประกันสังคมตามที่รัฐบาลกาหนดเพื่อให้การ ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนซึ่งอาจจะกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่าการประกันสังคมเป็นระบบ สวัสดิการเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนหรือบุคคลในภาคเอกชน ซึ่งมีลักษณะ คล้ายกันกับระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการของภาครัฐ ดังนั้น บุคคลทุกคนไม่ว่าจะ อยู่ในภาคเอกชนหรือภาครัฐควรได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์อย่างเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ สามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริการด้านการสาธารณสุขและการบริการ ด้านการแพทย์จะต้องมีคุณภาพและที่สาคัญคือต้องอยู่บนพื้นฐานของการเคารพในสิทธิและ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง เพราะลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงานถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ ที่มีความสาคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยิ่งของประเทศ ซึ่งประเทศแรกที่จัดให้มี การประกันสังคมขึ้นคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยเป็นการคุ้มครองในกรณีประสบ อันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทา งาน กรณีทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร การประกันสังคมที่ประเทศต่าง ๆ ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีหลักการที่ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากการ ประกันสังคมเป็นโครงการบริหารทางสังคมในระยะยาวอีกระบบหนึ่งที่รัฐเป็นผู้ดา เนินการ จัดขึ้นในบางประเทศมีรัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนนี้ด้วย (ณัฐพล ยิ่งกล้า, 2558, หน้า 1) ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ International Labour Organization : ILO (1989) ได้กาหนดหลักการของการประกันสังคมไว้ ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3