การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

15 2.1.4.1 การประกันสังคมจะมีการบริหารทางการเงินโดยวิธีการจัดเก็บเงินสมทบ ซึ่งโดยปกติมักมาจากการสมทบของนายจ้างและลูกจ้าง ทั้งนี้รัฐจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการ จ่ายเงินสมทบหรือเงินอุดหนุนอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ก็ได้ 2.1.4.2 การเข้ามามีส่วนร่วมในการประกันสังคมนั้นจะเป็นลักษณะของการบังคับ ซึ่งมีข้อยกเว้นน้อยมาก 2.1.4.3 เงินสมทบที่จ่ายมานั้นจะจัดตั้งเป็นกองทุนพิเศษ ซึ่งต้องนาไปจ่ายเป็น ประโยชน์ทดแทนตามที่กาหนดและนาไปใช้ในการบริหาร 2.1.4.4 ส่วนเกินของเงินสมทบจะนาไปลงทุนเพื่อให้กองทุนมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 2.1.4.5 สิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนขึ้นอยู่กับการได้จ่ายเงิน สมทบที่เป็นไปตามเงื่อนไข โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบความจาเป็น หรือการตรวจสอบรายได้ แต่อย่างใด 2.1.4.6 อัตราเงินสมทบและอัตราประโยชน์ทดแทนจะมีความสัมพันธ์กับรายได้ ของผู้ประกันตน 2.1.4.7 ครอบคลุมการประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยจากการทางาน การประกันสังคมจะประสบความสาเร็จได้นั้นจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ สาคัญ 5 ประการ คือ 1) หลักการบังคับโดยการให้ลูกจ้างทั้งหมดเข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคมและให้มี ข้อยกเว้นให้น้อยที่สุด เพื่อให้มีพื้นฐานในการดาเนินงานที่กว้างขวางเพียงพอ 2) หลักการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข กล่าวคือ ลูกจ้างที่มีฐานะดี มีรายได้สูง และลูกจ้างที่มี สุขภาพที่ดี แม้ว่าบุคคลเหล่านี้จะได้รับประโยชน์จากการประกันสังคมน้อยแต่ก็ต้องเข้ามาอยู่ ในระบบประกันสังคมเพื่อเฉลี่ยความสุขให้แก่ลูกจ้างที่มีฐานะยากจนมีรายได้น้อยและมีปัญหา ทางด้านสุขภาพอนามัย 3) หลักสามฝ่ายร่วมรับภาระ นอกจากลูกจ้างที่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบแล้วนายจ้าง และรัฐบาลควรมีส่วนร่วมรับภาระด้วย ทั้งนี้เนื่องจากนายจ้างย่อมได้รับประโยชน์จากการ ทางานของลูกจ้าง และรัฐบาลก็ย่อมได้รับประโยชน์จากการทางานทั้งของนายจ้างและลูกจ้าง อีกทอดหนึ่ง 4) หลักการจ่ายตามความสามารถ และได้ตามความจาเป็นซึ่งเป็นหลักการในการ คานวณเงินสมทบ โดยให้ถือเอารายได้หรือเงินเดือนของลูกจ้างเป็นเกณฑ์และจะได้รับ ประโยชน์ความจาเป็นเท่านั้น เช่น เจ็บป่วย หรือทุพพลภาพ เป็นต้น 5) หลักมาตรฐานขั้นต่า กล่าวคือ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการประกันสังคมนั้นถือเป็น มาตรฐานขั้นต่าที่ลูกจ้างควรได้รับ ดังนั้น กิจการหรือประโยชน์อื่นใดที่อยู่นอกบังคับของ กฎหมายประกันสังคมจะต้องมีมาตรฐานที่สูงกว่าที่ได้กาหนดไว้ในกฎหมายประกันสังคม (วิชัย โถสุวรรณจินดา, 2535, หน้า 54) นอกจากนี้พบว่าหลักการสาคัญอีกประการหนึ่งของหลักการประกันสังคม คือ หลักแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน (Benefits) บุคคลทุกคนที่เข้าเป็นสมาชิกของการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3