การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

16 ประกันสังคม เรียกว่า ผู้ประกันตน (Insured Person) ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน จากเงินสมทบที่โครงการประกันสังคมสะสมไว้เป็นกองทุนประกันสังคม โดยมีลักษณะการจ่าย จ่าย 3 กรณี ดังนี้ (1) จ่ายเป็นเงิน (In Cash) ซึ่งได้แก่เงินชดเชยค่าจ้างในระหว่างหยุดงานเพื่อการ รักษาพยาบาล การคลอดบุตร การว่างงาน เงินบานาญเพื่อการทุพลลภาพ การชราภาพและ บานาญตกทอดแก่คู่สมรสบุตร หรือผู้อยู่ในอุปการะ เงินทดแทนการตาย เงินค่าจัดการศพ และ เงินทดแทนครอบครัวใหญ่ที่มีผู้อยู่ในอุปการะจานวนมาก (2) จ่ายเป็นสิ่งของ (In Kinds) ซึ่งได้แก่ ยาและเวชภัณฑ์ สิ่งของเครื่องใช้สาหรับทารก แขนขาเทียม เครื่องพยุงกาย เครื่องมือใช้ในการประกอบอาชีพ และสิ่งของอื่น ๆ ที่จาเป็นต่อ การดารงชีวิต (3) จ่ายเป็นบริการ (In Services) ซึ่งได้แก่ การให้บริการทางการแพทย์การบริการ สังคม การสังคมสงเคราะห์ และบริการอื่น ๆ ที่จาเป็นต่อการดารงชีวิต (บัณฑิต บูรณบัณฑิต, 2522, หน้า 8 - 12) จากแนวคิดหลักการประกันสังคมดังกล่าวข้างต้นซึ่งได้กาหนดแนวทางการดาเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการจัดเก็บเงินสมทบ การมีส่วนร่วมของนายจ้างและลูกจ้าง อัตราเงินสมทบ รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะพึงได้รับตามที่กฎหมายกาหนดรับรองและคุ้มครองไว้ และหมายรวมถึงสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับบริการทางการแพทย์อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติหรือเกิดความเหลื่อมล้าในการได้รับบริการสาธารณะจากรัฐ 2.1.5 ลักษณะการดาเนินงานของการประกันสังคม โดยสามารถอธิบายรายละเอียดโดยสรุปของลักษณะการดาเนินงานของการ ประกันสังคมได้ 8 ประการ คือ 2.1.5.1 รัฐเป็นผู้ดาเนินการซึ่งเอกชนจะดาเนินการไม่ได้ 2.1.5.2 ระบบประกันสังคมมี 2 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ 1) แบบบังคับ คือ รัฐ ต้องออกกฎหมายประกาศใช้บังคับแก่ลูกจ้างในสถานประกอบการต่าง ๆ ให้เข้าร่วมโครงการ ประกันสังคมก่อน 2) แบบสมัครใจ คือ เมื่อดาเนินการประกันสังคมแบบสมัครใจแก่บุคคล ทั่วไปได้แก่ ผู้ทางานส่วนตัวหรือผู้ไม่ได้ทางานต่อไป 2.1.5.3 ตั้งกองทุนประกันสังคมโดยลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาลหรือบุคคลทั่วไป ที่สมัครใจเข้าประกันตนแล้วออกเงินสมทบตั้งเป็นกองทุนประกันสังคมขึ้นเพื่อใช้จ่ายในการ ดาเนินงานและจ่ายประโยชน์ทดแทน 2.1.5.4 การสงเคราะห์ เป็นการประกันสังคมโดยไม่ต้องทดสอบความจาเป็นถ้า ผู้ใดอยู่ในขอบข่ายที่กฎหมายระบุไว้ก็ต้องสมัครเข้ามาเป็นผู้ประกันตน 2.1.5.5 การคุ้มครองผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจะให้ความคุ้มครอง ผู้ประกันตนซึ่งได้แก่ บุคคล 3 ประเภท คือ 1) ลูกจ้างในระบบประกันสังคมแบบบังคับ 2) ผู้ทางานส่วนตัวหรือประกอบอาชีพอิสระ 3) ผู้ไม่ได้ทางานเนื่องจากกรณีหลังมีรายได้ที่ไม่ แน่นอนและไม่มีใครรับผิดชอบจึงควรให้การประกันสังคมคุ้มครองด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3