การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
17 2.1.5.6 การให้สิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนในระบบประกันสังคม มีลักษณะ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่ประเภทของการประกันสังคม คือ 1) ในรูปเงินสด 2) ในรูปของ สิ่งของ 3) ในรูปบริการ 2.1.5.7 ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจะได้รับประโยชน์ทดแทนภายใต้ เงื่อนไขการชาระเงินสมทบเข้ากองทุนไปแล้วตามที่กฎหมายกาหนดเท่านั้น 2.1.5.8 หลักแห่งสิทธิอุทธรณ์ในระบบประกันสังคมเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ คู่กรณีนาข้อเท็จจริงขึ้นสู่การพิจารณาของศาลประกันสังคมหรือศาลที่กาหนดขึ้นเฉพาะได้ หากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับของการดาเนินงาน ประกันสังคม (สุชาติ เปรมสุริยา, 2544, หน้า 12 - 13) จากลักษณะการดาเนินงานของการประกันสังคมจึงกล่าวได้ว่าเป็นหลักการ ที่รัฐจะให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนทั้งประเทศ เพื่อเป็นเครื่องประกันการดารงชีวิต อย่างมั่นคง แต่ก็จาเป็นต้องเริ่มต้นใช้บังคับด้วยการให้หลักประกันแก่กลุ่มลูกจ้างผู้ใช้แรงงาน ก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยพัฒนาและขยายคุ้มครองแก่กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น เกษตรกร และกลุ่มคนงานที่มีรายได้ต่าและได้รับอย่างแน่นอนแล้วจึงค่อยๆ ขยายกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ ๆ ต่อไป 2.2 ระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ ระบบส่งต่อผู้ป่วยเป็นเครื่องมือสาคัญที่ใช้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริการทาง การแพทย์และสาธารณสุขให้ประชาชนผู้รับบริการได้เข้าถึงโดยไม่มีข้อจากัดอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกัน โดยระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์สามารถจาแนกออกได้ 2 ประเภท คือ การส่งต่อบริการทางการแพทย์กรณีเจ็บป่วยทั่วไป และการส่งต่อบริการทางการแพทย์ กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ดังนี้ 2.2.1 การส่งต่อบริการทางการแพทย์กรณีเจ็บป่วยทั่วไป 2.2.1.1 ความหมายระบบการส่งต่อ ระบบการรับส่งต่อ (Referral system) หมายถึง ระบบบริการสุขภาพ ที่จัดขึ้นเพื่อให้บริการรับส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้รับบริการสุขภาพ บริการทางการแพทย์และ การสาธารณสุขระหว่างสถานบริการสุขภาพ ตั้งแต่ก่อนการส่งต่อ ขณะส่งต่อ หลังส่งต่อ และ การส่งต่อทั้งไปและกลับอย่างมีคุณภาพเหมาะสมกับความสามารถของสถานบริการสุขภาพ นั้น ๆ โดยผู้ป่วยได้รับบริการสุขภาพที่ต่อเนื่องในแนวทางเดียวกันตั้งแต่สถานบริการสุขภาพ ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง ( Excellent center) ส่วนการส่งต่อ (Refer out) หมายถึง การส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อที่สถานบริการสุขภาพอื่น ซึ่งสามารถให้บริการที่เหมาะสมกว่า เพื่อปรึกษาชันสูตรวินิจฉัยรักษาต่อหรือเพื่อการรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือวินิจฉัยที่ทันสมัยซึ่งอาจจะเป็นสถานพยาบาลในระดับ เดียวกันหรือสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า และการรับการส่งต่อ (Refer in) หมายถึง กระบวนการรับผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจากสถานพยาบาลต้นทางเพื่อมารับการรักษาต่อหรือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3