การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

18 รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม (กองบริหารการสาธารณสุข สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2562, หน้า 12) ในขณะเดียวกันได้มีนักวิชาการให้ความหมายของการรับ - ส่งต่อผู้ป่วย ระหว่างโรงพยาบาล (Refer) หมายถึง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากสถานพยาบาลหนึ่งเพื่อไปรับ การตรวจรักษาต่อที่สถานพยาบาลอื่นโดยโรงพยาบาลเป็นผู้นาส่ง โดยมีองค์ประกอบหลาย ด้านที่ทาให้เกิดการดาเนินงานที่ประสานกันเป็นทีมจึงต้องมีข้อกาหนดในการดาเนินงานอย่าง เป็นระบบ เรียกว่าระบบส่งต่อ (Referal System) หมายถึง การส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ เพื่อขอรับบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข ระหว่างสถานบริการสาธารณสุขตั้งแต่ก่อน ส่งต่อ ขณะส่งต่อ และรับการส่งต่อ ระบบส่งต่อสามารถช่วยให้สถานบริการที่มีขีดจากัดด้าน ศักยภาพขอความร่วมมือจากสถานบริการที่มีอุปกรณ์ที่พร้อมกว่าหรือมีบุคลากรเฉพาะที่ สามารถให้ความช่วยเหลือแนะนาไปจนถึงช่วยรับดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการ ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพเหมาะกับโรคของผู้ป่วยในราคาที่เหมาะสม และสะดวกในการเข้าถึง บริการทางการแพทย์ (ปรานอม สงวนพันธุ์, 2562, หน้า 51 - 55) และ(นัยนา หมันเทศ, 2560, หน้า 11) ให้ความหมายของการส่งต่อผู้ป่วยไว้ว่า หมายถึง ระบบการส่งต่อผู้ป่วย ระหว่าง หน่วยบริการเพื่อไปรักษาต่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า หรือเพื่อการดูแลต่อเนื่อง โดยมีข้อมูลผู้ป่วยนาส่งไปด้วยซึ่งอาจจะส่งไปพร้อมกับตัวผู้ป่วยหรือการส่งภายหลังและ เมื่อรักษาเสร็จสิ้นแล้วก็มีการตอบกลับผลการรักษาด้วย อีกทั้ง (ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, 2562, หน้า 109 - 113) ได้ให้ความหมายที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันว่า ระบบส่งต่อผู้ป่วย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความช่วยเหลือจากสถานบริการสุขภาพระดับเดียวกันหรือ ระดับที่สูงกว่าซึ่งมีแหล่งทรัพยากรที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่าหรือแตกต่างกันเนื่องจากความจากัด ของทรัพยากรในการจัดบริการสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ส่วนกรณีการส่งต่อผู้ป่วยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2545 เรื่อง มาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย หมายถึง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากสถานที่หนึ่งเพื่อไปรับการรักษา ต่อยังอีกสถานที่หนึ่งโดยสถานพยาบาลเป็นผู้นาส่ง ดังนั้น จึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าระบบส่งต่อผู้ป่วยเป็นหัวใจสาคัญของ การจัดระบบบริการสุขภาพและบริการทางการแพทย์เพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนจะ เข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ครอบคลุมเป็นธรรมและต่อเนื่องเพราะระบบส่งต่อ ผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพจะสะท้อนให้เห็นถึงการเชื่อมโยงและบูรณาการสถานบริการเพื่อดูแล สุขภาพของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ บริการระดับทุติยภูมิ และบริการระดับตติย ภูมิ 2.2.2.2 ระดับสถานบริการสาธารณสุขในการรับส่งต่อผู้ป่วย การแบ่งระดับสถานบริการสาธารณสุขในการรับส่งต่อผู้ป่วย (Referral Hospital cascade) กล่าวคือ การแบ่งระดับสถานบริการสถานบริการสาธารณสุข สังกัดสานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาครับส่งต่อผู้ป่วยตามแผนพัฒนาระบบ บริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งโรงพยาบาลรับส่งผู้ป่วยส่งต่อของระบบบริการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3