การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

19 ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เพื่อใช้ทรัพยากรในเครือข่ายที่มี จากัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุดหลีกเลี่ยงการลงทุนซ้าซ้อนและขจัดสภาพการแข่งขัน ดังนี้ 1) กลุ่มโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับต้น คือ โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ 2) กลุ่มโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับกลาง คือ โรงพยาบาลทั่วไปขนาด เล็ก โรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย 3) กลุ่มโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับสูง คือ โรงพยาบาลศูนย์ และ โรงพยาบาลทั่วไป หรือสถานพยาบาลระดับโรงเรียนแพทย์ (กองบริหารการสาธารณสุข สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2562, หน้า 13 - 16) สาหรับสถานบริการด้านด้านสุขภาพ มีบริการสุขภาพที่จัดโดยภาครัฐ และภาคเอกชน ประกอบด้วยสถานบริการสุขภาพทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดยสถานบริการในระดับปฐมภูมิจะเป็นสถานบริการที่ให้บริการในขั้นต้นเมื่อมีการเจ็บป่วย โดยถือเป็นด่านแรกของระบบบริการสุขภาพ และมีการให้บริการแบบผสมผสานทั้งด้าน ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในขณะที่สถาน บริการระดับทุติยภูมิเป็นสถานบริการในระดับโรงพยาบาลที่สามารถให้การรักษาสาหรับการ เจ็บป่วยทีมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการรับผู้ป่วยไว้รักษาในแผนกผู้ป่วยในและ สถานบริการระดับตติยภูมิ เป็นสถานบริการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสามารถรักษาผู้ป่วย ที่มีความซับซ้อนและต้องการการรักษาด้วยแพทย์เฉพาะทางและเครื่องแพทย์ที่มีราคาแพง ทาหน้าที่รับการส่งต่อผู้ป่วยจากสถานบริการที่มีข้อจากัดในการรักษา (กองยุทธศาสตร์และ แผนงาน สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2562, หน้า 116) การส่งต่อผู้ป่วยเกิดขึ้นได้ทั้งกรณีที่เป็นความประสงค์ของผู้ป่วยและ โดยแพทย์เป็นผู้ตัดสินใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพที่สูงขึ้นรูปแบบ ของระบบการส่งต่อผู้ป่วย ได้แก่ การส่งต่อจากประชาชนหรือหน่วยงานสาธารณสุขมูลฐาน มายังระบบบริการของรัฐ การส่งต่อระหว่างสถานบริการ การส่งต่อภายในสถานบริการ และ การส่งต่อกลับชุมชนโดยขั้นตอนในการส่งต่อผู้ป่วย ประกอบด้วย กิจกรรมหลัก คือ กระบวนการรับ - ส่งผู้ป่วยเพื่อให้สถานพยาบาลรับการส่งต่อ เตรียมพร้อมในการรับผู้ป่วยไว้ รักษาต่อ ซึ่งหมายถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและกระบวนการส่งต่อข้อมูลเป็นการส่งต่อข้อมูล การรักษาผู้ป่วย โดยสรุปของแพทย์ผู้รักษาตามแบบฟอร์มการส่งต่อ เพื่อการรักษาอย่าง ต่อเนื่องของผู้ป่วย ซึ่งกระบวนการส่งต่อผู้ป่วยมีหนังสือนาส่งผู้ป่วยตามแบบฟอร์ม ที่กระทรวง สาธารณสุขกาหนดผู้ป่วยอาจเดินทางไปหาเองหรือเจ้าหน้าที่เป็นผู้นาส่งแล้วแต่ความสะดวก เมื่อเสร็จสิ้นการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้วก็จะแจ้งผลการรักษาไปยังหน่วยบริการสาธารณสุข ที่ส่งผู้ป่วยมาเพื่อการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่องให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างดีและเหมาะสมที่สุด (สุภาณี อ่อนชื่นจิตร และ สุนันท์ ศรีวิรัตน์ 2550, 2550, หน้า 415 - 420) ก ารพัฒ น าระบ บ ส ารสน เท ศ เพื่ อก า รส่ งต่ อผู้ป่ วย ระห ว่า ง สถานพยาบาลในประเทศไทยแนวคิดการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการส่งต่อผู้ต่อผู้ป่วย ระหว่างสถานพยาบาลหรือการพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์ทั้ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3