การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

20 ต่างประเทศและในประเทศไทยมีสาเหตุเนื่องมาจากการให้บริการทางการแพทย์ที่มีต้นทุนสูง ต้นทุนระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสถานพยาบาลใน สหรัฐอเมริกาสูงถึง 8 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี นอกจากนี้ ยังพบปัญหาระบบการจัดเก็บ ข้อมูลผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ปัญหาด้านระยะเวลาและการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่ล่าช้าและยังขาด หน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์ เพื่อการรักษาเพื่อให้สอดคล้อง กับการใช้ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) ทั้งนี้ ระบบส่งต่อผู้ป่วย รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณ าจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติว่า “รัฐต้องจัดส่งและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับ บริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง การพัฒนาระบบส่งต่อในภาพรวมขอ ง ประเทศซึ่งทุกจังหวัดได้ดาเนินการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาระบบส่งต่อโดยมีนวัตกรรมการใช้ระบบ Information Technology (IT) มาประกอบการดาเนินงานรับส่งต่อผู้ป่วยทาให้การประสานการส่งต่อผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น การปฏิเสธการส่งต่อผู้ป่วยในทุกระดับลดลงในขณะเดียวกันการบริการสุขภาพใน ประเทศไทย มีกระทรวงสาธารณสุขทาหน้าที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพของประชาชน โดยการจัด ให้มีระบบบริการสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การ รักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพมีเป้าหมายสาคัญคือ การให้บริการสาธารณสุขที่มี ประสิทธิภาพกระจายไปยังประชาชนในส่วนภูมิภาคอย่างทั่วถึง และสามารถให้บริการ ประชาชนตามขีดความสามารถในแต่ละระดับเมื่อผู้ป่วยเป็นโรคที่เกินขีดความสามารถของ หน่วยบริการที่จะให้การรักษาก็จะต้องมีการส่งต่อตามขั้นตอนมีการแบ่งระบบบริการสุขภาพ ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ บริการระดับปฐมภูมิ (primary care) บริการระดับทุติยภูมิ (secondary care) และบริการระดับตติยภูมิ (tertiary care) โดยมุ่งให้บริการแต่ละระดับมี บทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันใช้หลักการ “เครือข่ายบริการที่ไร้รอยต่อ (Seamless Health Service Network)” ที่สามารถเชื่อมโยงบริการทั้ง 3 ระดับเข้าด้วยกันให้เป็นไปตามสภาพ ข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์และการคมนาคมสถานการณ์ปัญหาด้านโครงข่ายการใช้งาน อินเตอร์เน็ตของหน่วยงานในส่วนภูมิภาคยังไม่มีเสถียรภาพ เนื่องจากสถานบริการสาธารณสุข มีการใช้งานเชื่อมโยงมากทาให้ช่องสัญญาณ (Bandwidth)ไม่เพียงพอถึงแม้จะมีการเพิ่ม ช่องสัญญาณแล้วแต่ในการใช้งานจริงความเร็วในการรับ - ส่ง ข้อมูลจะได้น้อยกว่าที่ระบุในการ เช่าใช้บริการช่องสัญญาณ (ธีริรทร์ เกตุวิชิต, 2558, หน้า 13 - 21) 2.2.2 การส่งต่อบริการทางการแพทย์กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ตามที่รัฐบาลได้กาหนดนโยบายเกี่ยวกับเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) มีสิทธิทุกที่เพื่อลดความเลื่อมล้าด้านการ รักษาพยาบาลของประชาชนในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยเริ่มดาเนินโครงก ารเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นมา วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถเข้ารักษา ในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนได้ทุกแห่งเป็นการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทันท่วงที ซึ่งผู้ป่วยฉุกเฉินไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเข้ารักษาจนพ้นภาวะวิกฤตหรืออาการที่แพทย์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3