การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
21 ประเมินแล้วเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่ เกิน 72 ชั่วโมง (นับรวมวันหยุด) ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าตามหลักเกณฑ์ คือ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหันมีภาวะคุกคามต่อชีวิต เช่น หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการ ไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต เป็นต้น สิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลกรณีที่เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งคา ว่า “ผู้ป่วยฉุกเฉิน” ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 มาตรา 3 วรรคสอง หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหันซึ่งเป็นภยันตรายต่อการ ดารงชีวิตหรือการทางานของอวัยวะสาคัญจาเป็นต้องได้รับการบาบัดรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นจากการบาดเจ็บหรืออาการป่วยนั้น จากบทบัญญัติ ดังกล่าวได้ให้ความคุ้มครองผู้ป่วยกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเพื่อลดความสูญเสียต่อชีวิตของ ประชาชน กฎหมายจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) โดยมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการทาหน้าที่กาหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรา 11 รวมถึงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินและ กาหนดให้มีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติขึ้นตามมาตรา 15 เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ บริหารจัดการประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ถือเป็นสิทธิอย่าง หนึ่งที่ทาให้ผู้ประกันตนได้รับการเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างไร้รอยต่อ สิทธิของผู้ป่วยฉุกเฉินทุกสิทธิไม่ว่าจะเป็นสิทธิในระบบสวัสดิการข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งปรากฏว่าทั้งสามกองทุนนี้ การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลอื่นที่ตนไม่มีสิทธิจะต้องอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ประกอบกับประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ฉุกเฉิน เรื่อง หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการ ปฏิบัติการฉุกเฉิน พ.ศ. 2554 ในส่วนของการใช้สิทธิบริการสถานพยาบาลกรณีเจ็บป่วย ฉุกเฉินของลูกจ้างผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมสามารถใช้สิทธิที่สถานพยาบาลอื่น นอกเขตพื้นที่จังหวัดได้ โดยสามารถที่จะใช้สถานพยาบาลใกล้เคียงนอกสัญญาได้โดยที่ ค่ารักษาพยาบาลนั้นสถานพยาบาลสามารถเรียกเก็บได้จากหน่วยงานที่รัฐจัดตั้งขึ้น คือ สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เนื่องจากรัฐบาลซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ใน การจัดบริการสาธารณะเห็นถึงความสาคัญของการเจ็บป่วยที่ไม่อาจคาดการหรือคาดหมายได้ ล่วงหน้าและเป็นกรณีเกิดอันตรายแก่ชีวิตได้หากได้รับการรักษาพยาบาลไม่ทันท่วงที ดังนั้น นโยบายนี้บังคับใช้สาหรับสิทธิการคุ้มครองด้านสุขภาพไม่ว่าจะเป็นหลักประกันสุขภาพระบบ ใดก็ตาม โดยมีเป้าหมายการทางานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างระบบสวัสดิการข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อพัฒนาการคุ้มครองสิทธิของ ผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาได้ทุกที่ ทั่วถึงทุกสิทธิ” ซึ่งมีสานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3