การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
22 ในระหว่างป่วยฉุกเฉินวิกฤติยังไม่พ้นขีดอันตราย และให้สถานพยาบาลที่รักษาผู้ประกันตน มีหน้าที่ส่งข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติเพื่อเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล ด้วยการส่งเข้าระบบเบิกจ่าย (Emergency Claim Online : WMCO) โดยมีสานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานกลางจ่ายเงินให้แก่สถานพยาบาลเอกชนและ ทาหน้าที่ตรวจสอบและ Clearing House ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2556 กล่าวคือ เมื่อดาเนินการจ่ายเงินไปแล้วสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะเรียกเงินคืน จากกองทุนที่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิอยู่ ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติได้รับการ รักษาพยาบาลจนพ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ไม่ประสงค์จะย้ายไปรักษาต่อในสถานพยาบาลรัฐ ที่ตนมีสิทธิอยู่กรณีดังกล่าวนี้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตนั้นจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการ รักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นภายหลังที่พ้นขีดอันตรายเองทั้งหมด โดยไม่สามารถเบิกจากสานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศเกี่ยวกับการเจ็บป่วยฉุกเฉิน กล่าวคือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ ผู้ป่วยฉุกเฉิน การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาและการจัดให้มีการ ส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 และมีผลใช้ บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นไป ตามข้อ 3 กาหนดไว้ว่า “เมื่อมีผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งหากปล่อยไว้ เช่นนั้นจะเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บ หรืออาการป่วยของผู้ป่วย ฉุกเฉินได้ ให้ผู้รับอนุญาตและผู้ดาเนินการสถานพยาบาลมีหน้าที่ดาเนินการช่วยเหลือเยียวยา ตามขั้นตอนในส่วนของการส่งต่อบริการทางการแพทย์ซึ่งตามหมวด 3 กาหนดเกี่ยวกับการจัด ให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น คือ “ข้อ 9 เมื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วย ตามหมวดหนึ่ง ถ้ามีความจาเป็นต้องส่งต่อหรือผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยมีความประสงค์จะไปรับ การรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น ผู้รับอนุญาต และผู้ดาเนินการต้องจัดให้มีการจัดส่ง ต่อไปยังสถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสม และวรรคสองกาหนดไว้ว่า “ในกรณีที่ ผู้ประกอบวิชาชีพให้การรับรองว่าการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกัน การเสียชีวิต หรือการรุนแรงขึ้นของการเจ็บป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น หรือเกินขีดความสามารถ ตามนัยแห่ง ข้อ 3(2) ให้สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนดาเนินการส่งต่อผู้ป่วย ฉุกเฉิน ตามมาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วยที่กระทรวงสาธารณสุขกาหนด และให้สถานพยาบาล ประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนดาเนินการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินตามมาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกาหนดโดยอนุโลม (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกาหนดค่าใช้จ่ายในการดาเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560) การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกาหนดค่าใช้จ่ายในการดาเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 ตามข้อ 1 ของแนบท้ายประกาศฉบับนี้ได้กาหนดเกี่ยวกับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3