การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

23 ค่าใช้จ่ายไว้ว่า “ค่าใช้จ่าย หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่ได้รับชดเชยจากการรักษาพยาบาลหรือ การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ปรากฏตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้” และข้อ 2 กาหนดไว้ว่า “กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้สถานพยาบาลให้การ รักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินเพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและขีดความสามารถ ของสถานพยาบาลโดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อ การดูแลรักษา และให้สถานพยาบาลแจ้งต่อกองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือ กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐทราบโดยเร็ว” ในส่วนเกี่ยวกับการส่งต่อตามข้อ 4 กาหนดไว้ว่า “สถานพยาบาลต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตจนพ้นภาวะวิกฤตหรือ ถ้ามีความจาเป็นต้องส่งต่อหรือผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือญาติมีความประสงค์จะไปรับการ รักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น สถานพยาบาลต้องจัดให้มีการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่น ตามความเหมาะสมตามมาตราฐานวิชาชีพและมาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย” และข้อ 10 ได้กาหนดในส่วนของการส่งต่อในช่วงระยะเวลาภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง กล่าวคือ ในกรณีที่มี การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตจากสถานพยาบาลแห่งที่หนึ่งไปยังสถานพยาบาลแห่งที่สอง ภายในเวลาก่อนครบเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับตั้งแต่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้ารับการรักษาพยาบาล ที่สถานพยาบาลแห่งที่หนึ่ง สถานพยาบาลแห่งที่สองจะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา ตั้งแต่รับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตจนครบเจ็ดสิบสองชั่วโมง (โดยนับเวลาต่อเนื่องจากสถานพยาบาล แห่งที่หนึ่งรับ) (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกาหนด ค่าใช้จ่ายในการดาเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560) ความหมายของคาว่า “บริการทางการแพทย์” ตามพระราชบัญญัติหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 3 ให้ความหมายว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อเสริมสร้างสุขภาพการป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จาเป็นต่อสุขภาพและการดารงชีวิต โดยให้รวมถึงการบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการ ประกอบโรคศิลปะ และตามสัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ประจาปี 2564 “บริการทางการแพทย์” หมายถึง การได้รับบริการ จากโรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลของเอกชนที่เข้าร่วมโครงการในการให้บริการทาง การแพทย์ ส่วนคาว่า “ค่าบริการทางการแพทย์” นั้นอาจประกอบไปด้วย ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab) ค่าตรวจรังสีวินิจฉัย (x-ray) และค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการรักษาพยาบาล และตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมและที่แก้ไข เพิ่มเติม ได้กาหนดไว้ว่า ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอัตราย หรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจาก การทางาน ได้แก่ 1) ค่าตรวจวินิจฉัยโรค 2) ค่าส่งเสริมสุขภาพ และป้องกัน 3) ค่าบาบัดทาง การแพทย์ และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ 4) ค่ากินอยู่และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล 5) ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์ 6) ค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วย 7) ค่าใช้จ่ายเป็นเงิน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3