การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
24 ช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตน ในกรณีผู้ประกันตนได้รับความเสียหายจากการรับบริการ ทางการแพทย์ฯ 8) ค่าบริการอื่นที่จาเป็น ดังนั้น การส่งต่อบริการทางการแพทย์ไปยังสถานพยาบาลที่มีศักยภาพที่สูงกว่า ซึ่งจะมีค่าบริการทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการรักษาผู้ป่วยดังกล่าวนี้เป็นต้นทุน จากการให้บริการและถือเป็นปัจจัยสาคัญอย่างหนึ่งในการพิจารณาเมื่อมีกรณีจะต้องส่งต่อ บริการทางการแพทย์ให้ผู้ประกันตนไปรับการรักษาพยาบาล ณ สถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพ สูงกว่าเพราะยิ่งสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงต้นทุนการให้บริการทางการแพทย์จะมีอัตรา ค่าบริการทางการแพทย์ที่สูงตามมาด้วย และหากยิ่งเป็นโรคที่มีความซับซ้อนหรือโรคเรื้อรัง หรือโรคที่ต้องใช้เครืองมือหรือเทคโนโลยีชั้นสูงจะทาให้มีค่าบริการทางการแพทย์สูงตามมาด้วย จึงถือว่าเป็นปัญหาหรืออุปสรรคของระบบการส่งต่อทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคมที่จะต้องพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกับสิทธิหลักประกัน สุขภาพอื่น ๆ 2.2.3 ระบบส่งต่อของสถานพยาบาลในกองทุนประกันสังคม ในปี 2533 สานักงานประกันสังคมได้ทาสัญญาจ้างโดยให้บริการทางการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กับสถานพยาบาลหลัก (Main Contractor) โดยที่สถานพยาบาลหลักต้องให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนเต็มกาลังตาม ความสามารถทางการแพทย์และจะต้องจัดยา เวชภัณฑ์ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการ แพทย์อื่น ๆ เพื่อให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนอย่างเพียงพอจนสิ้นสุดการรักษา ซึ่งสถานพยาบาลหลักจะต้องให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนด้วยตน เอง หากสถานพยาบาลมีความจาเป็นต้องให้สถานพยาบาลอื่นรับช่วงการให้บริการทางการแพทย์ แก่ผู้ประกันตนทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใด สถานพยาบาลจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากสานักงานประกันสังคมก่อน แต่ทั้งนี้ การรับช่วงการให้บริการดังกล่าวก็ต้องเพื่อประโยชน์ ต่อผู้ประกันตน และเพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับบริการและการรักษาที่ดียิ่งขึ้น การจัดระบบสถานพยาบาลประกันสังคมเนื่องจากสานักงานประกันสังคมไม่มี สถานพยาบาลเป็นของตนเองและไม่สามารถสร้างสถานพยาบาลขึ้นรองรับผู้ประกันตน ทั่วประเทศได้ จึงได้จัดระบบสถานพยาบาลแบบใช้โครงสร้างการให้บริการทางการแพทย์ของ สถานพยาบาลภายในประเทศที่มีอยู่แล้ว (Indirect System) โดยได้รับความร่วมมือจาก สถานพยาบาลภาครัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 18/2534 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2534 ซึ่งมีมติเห็นชอบในหลักการให้สถานพยาบาลของส่วนราชการ ให้ความร่วมมือในการให้บริการ ทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนในโครงการประกันสังคม ส่วนสถานพยาบาลภาคเอกชนใดที่ ประสงค์จะเป็นสถานพยาบาลประกันสังคมก็สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ แต่จะต้องผ่าน การตรวจรับรองมาตรฐานสถานพยาบาลก่อนในการเข้ารับบริการทางการแพทย์จาก สถานพยาบาลประกันสังคมนั้น ผู้ประกันตนจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโรค และการบาบัด ทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา ดังนั้น จึงได้มีการกาหนดสถานพยาบาลประกันสังคมเป็น 3 ระดับ ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3