การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ค บทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อ ชื่อวิทยานิพนธ์ : การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ชื่อ-ชื่อสกุลผู้ทาวิทยานิพนธ์ : นายสุวิทย์ วนาสุวรรณวณิช อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา พรยิ่ง ปริญญาและสาขาวิชา : ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ ปีการศึกษาที่สาเร็จ : 2565 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสาคัญของปัญหาระบบการส่ง ต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ เกี่ยวกับการประกันสังคม มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์ของ ผู้ประกันตน การวิเคราะห์การบริหารจัดการระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนใน ระบบประกันสังคมให้ประชาชนไม่ว่าอยู่สถานะใดสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้เสมอภาคกัน จะนาไปสู่การพัฒนากฎหมาย รูปแบบและกลไกระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคมให้มีประสิทธิภาพสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และได้รับบริการ สาธารณสุขของรัฐ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กฎหมาย มหาชนระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว 4 ประเทศ ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนี ราชอาณาจักรสวีเดน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐเกาหลี วิธีดาเนินการวิจัยที่ใช้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการวิจัยภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิง ลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเด็นระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์กรณีทั่วไปของ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม กรณีที่โรงพยาบาลต้นสังกัดเป็นผู้นาส่งไปยังโรงพยาบาลที่มี ศักยภาพสูงกว่า สาหรับผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทางาน เมื่อมี ความจาเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาตัวยังสถานพยาบาลอื่นที่มิใช่สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือก ขึ้นทะเบียนสิทธิแต่แรก เนื่องมาจากสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกใช้สิทธิการรักษาพยาบาลนั้น ขาดศักยภาพด้านแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์การให้บริการทางการแพทย์ จึงจาเป็นต้องส่งต่อ ผู้ป่วยไปรับการรักษาในสถานพยาบาลเขตพื้นที่เดียวกันที่มีศักยภาพสูงกว่า 2) ประเด็นการบริหาร จัดการค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลผู้ ส่งต่อผู้ป่วยยังมีอุปสรรคและรับภาระค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล ผู้รับการส่งต่อ และเป็นปัจจัยสาคัญนาไปสู่การใช้ดุลพินิจของผู้บริหารและแพทย์ของสถานพยาบาล ต่อการตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่นอย่างมีนัยสาคัญ และหากนาระบบการส่งต่อผู้ป่วย ของประกันสังคม เปรียบเทียบกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสวัสดิการข้าราชการ เหลื่อมล้าใน ระบบการส่งต่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ในระบบหลักประกันสุขภาพทั้งสามระบบ แสดงให้เห็นว่า การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ของระบบประกันสังคมไม่สอดคล้องกับแผน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3