การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
28 ควบคุมสถานพยาบาลให้มีมาตรฐานและบริการที่ดีแก่ผู้ประกันตน เช่น ความสะดวก เวลาที่ ต้องรอรับบริการ ความสุภาพ เป็นต้น สุดท้ายสถานพยาบาลสามารถกาหนดค่าใช้จ่ายชัดเจน ว่าจะต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไร เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่ายา สถานพยาบาล จะให้คนไข้อยู่ในโรงพยาบาลระยะเวลาสั้นที่สุด ดังนั้น คนไข้ที่ไม่จาเป็นต้องรับเป็นผู้ป่วยในก็ จะได้รับการรักษาแบบคนไข้นอก ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลรวมทั้งกรณี การเอกซเรย์ (x-rays) ในทางกลับกันอาจจะเป็นประหยัดค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลและ อาจจะเป็นเรื่องเสี่ยงได้เช่นกัน หากสถานพยาบาลประหยัดค่าใช้จ่ายโดยให้การรักษาพยาบาล ที่อาจเป็นอันตรายกับผู้ป่วย ดังนั้น สานักงานประกันสังคมจะต้องกาหนดมาตรการในการ ควบคุมคุณภาพการให้บริการของสถานพยาบาลด้วย (สุพล ลิมวัฒนานนท์ วิโรจน์ ตั้งเจริญ เสถียร, กัญจนา ติษยาธิคม, ภูษิต ประคองสาย, และวลัยพร พัชรนฤมล, 2548, หน้า 1 - 6) ข้อเสียของระบบเหมาจ่ายรายหัว (Capitation) คือ ผู้รับบริการถูก จากัดให้ใช้สถานพยาบาลเดียวหรือเฉพาะสถานพยาบาลในเครือข่ายเท่านั้น ไม่สะดวกในการ เข้าบริการอาจได้รับบริการที่คุณภาพต่าหรือไม่พอเพียง สถานพยาบาลมีแนวโน้มที่จะลดการ ให้บริการและการตรวจวินิจฉัยโรคที่ไม่จาเป็นเนื่องจากระบบเหมาจ่ายรายหัวไม่ได้สร้ าง แรงจูงใจสาหรับแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยเพิ่มขึ้นและสถานพยาบาลต้องควบคุมค่าใช้จ่ายโดย เลือกใช้ยาราคาถูกทาให้สานักงานประกันสังคมถูกร้องเรียนเรื่องการให้บริการ ดังนั้น ในการ การนาระบบเหมาจ่ายมาใช้จึงมีข้อพิจารณา ดังนี้ 1) การตีความการให้การรักษาพยาบาลจะต้องชัดเจนโรคบางอย่าง ต้องให้การรักษาระยะยาว เช่น โรคจิต โรคติดต่อ 2) ความสามารถในการให้การรักษาบริการตลอด 24 ชั่วโมงของ สถานพยาบาล 3) สถานพยาบาลจะรับผิดชอบในการจัดหาแพทย์ที่สามารถเยี่ยมไข้ ตามบ้านกรณีป่วยมากไม่อาจไปรับการรักษายังพยาบาล 4) การจ่ายค่าพาหนะรับ-ส่งผู้ป่วย และกรณีการย้ายสถานพยาบาล เช่น ต้องแยกตัวคนไข้ สถานพยาบาลต้องรับผิดชอบค่าพาหนะหรือไม่ 5) กรณีสถานพยาบาลไม่มีแพทย์ทางานอยู่และผู้ป่วยขอนัดพบแพทย์ เป็นการส่วนตัว 6) ประเภทค่าใช้จ่ายที่สถานพยาบาลจะเรียกเก็บจากผู้ประกันตนได้ เช่น การสั่งยาพิเศษ 7) การยินยอมให้ตรวจสอบสถานพยาบาลได้ตลอดเวลา 8) เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์จะต้องกาหนดมาตรฐานสถานพยาบาลใน ความตกลงเรื่อง ขนาดเตียง จานวนสุขา ห้องอาบน้า จานวนห้องพักฟื้น จานวนพยาบาล ฝึกหัดต่อคนไข้ กรณีคนไข้ต้องการให้เฝ้าไข้กลางคืน แพทย์เวรประจากลางวัน หรือกลางคืน อุปกรณ์ทางการแพทย์และการเก็บรักษา ห้องปรึกษาแพทย์สาหรับคนไข้นอก (ทัศนีย์ มะโน ปัญญา และ และนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์, 2547, หน้า 16)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3