การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
29 2.3.1.3 ระบบการเหมาจ่ายตามกลุ่มลักษณะอาการของโรค (Dignostic Related Groups) หรือ (DRG) กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม คือ วิธีที่ใช้ข้อมูลค่าใช้จ่ายรวมของบริการ รักษาพยาบาล (Total Cost) หรือวันที่ต้องนอนรักษาในสถานพยาบาล (Length of Stay) เป็นตัวชี้วัดว่าการรักษาโรคดังกล่าวยากหรือง่าย หากมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงหรือมีวันนอน รักษาที่นาน แสดงว่าวิธีการรักษาโรคดังกล่าวนี้ยาก โดยนาข้อมูลค่าใช้จ่ายในการรักษากลุ่ม โรคต่าง ๆ มาคานวณเป็นค่าน้าหนักสัมพัทธ์ (Relative Weight หรือ RW) ประกอบด้วยข้อมูล ในโรคหลักที่ผู้ป่วยเป็นโรคที่เกิดร่วมโรคแทรกซ้อน การทาหัตถการ ตลอดจนการจาหน่าย ผู้ป่วยกลับบ้าน เหมาะกับการรักษาโรคที่มีระยะการป่วยที่ไม่ยาวนานนัก มีโอกาสเกิดโรคและ อัตราการเข้ารับบริการที่ไม่สูงมาก เป็นการจ่ายเงินตามผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจนวิธีหนึ่ง สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการให้บริการแต่ละครั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ศุภสิทธิ์ พรรณนา รุโณทัย, 2555, หน้า 145) การจ่ายตามกลุ่มโรคของการวินิจฉัยซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ พัฒนาขึ้นมาใช้หลังจากประสบปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายจากวิธีเรียกเก็บโดยจาแนกผู้ป่วยเป็น ประเภทตามกลุ่มอาการของโรคที่เข้ารับบริการทางการแพทย์โดยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ตามกลุ่มของโรคต่าง ๆ กลุ่มโรคหนึ่งก็จะมีราคาเงินเหมาจ่ายแบบหนึ่ง ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีอัตรา ที่แตกต่างกันไป โดยประเทศกาลังพัฒนาระบบการเหมาจ่ายตามกลุ่มลักษณะอาการของโรค (Dignostic Related Groups) หรือ (DRG) ถือว่าค่อนข้างจะซับซ้อนยุ่งยากในทางปฏิบัติและ ยากต่อการควบคุมดาเนินการ แต่อย่างไรก็ตามอาจจะพัฒนามีกลุ่มอาการของโรคได้ในบาง สาขาหรืออาจจะแบ่งกลุ่มให้ง่ายต่อการบริหารจัดการและหรือใช้ผสมกับวิธีการจ่ายแบบอื่น ๆ ก็ได้ สาหรับข้อดีของระบบการเหมาจ่ายตามกลุ่มลักษณะอาการของโรค (Diagnosis Related Group) หรือ (DRG) คือ ทาให้ทราบค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างแน่นอนของแต่ละกลุ่มโรค เนื่องจาก ได้มีการแบ่งโรคต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม ๆ และมีราคาค่าใช้จ่ายของแต่ละกลุ่มโดยประมาณไว้แล้ว ท า ให้ สถ านพ ย าบ าลส าม ารถค าน วณ ต้นทุนค่ ารักษ าพ ย าบ าลผู้ป่ วย ได้แน่น อน โดยการเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายแต่ละกลุ่มโรคที่ได้ประมาณการไว้แล้ว แต่ข้อเสีย คือ ในการประมาณการค่าใช้จ่ายของโรคแต่ละประมาท ซึ่งอาจมีโรคบางประเภทที่ยังไม่สามารถ จัดทาเป็นกลุ่มโรคประเภทได้ทันทีต้องมาพิจารณาจัดเข้ากลุ่มในภายหลังซึ่งอาจเกิดความล่าช้า (สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2554, หน้า 145 - 150) 2.3.1.4 ระบบการจ่ายเป็นงบประมาณรวม (Global Budet) ระบบที่รัฐจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีให้แก่โรงพยาบาลเพื่อการ ประกันสังคมให้แก่สถานพยาบาลต่าง ๆ ตามที่กาหนดและประชาชนสามารถเข้ารับบริการทาง การแพทย์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยวิธีการจ่ายเป็นงบประมาณรวมนั้น มักจะจ่ายเป็นรายปี ให้แก่โรงพยาบาล ส่วนการบริหารจัดการงบประมาณในรายละเอียดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร โรงพยาบาล รับผิดชอบด้านการใช้จ่ายระบบการจ่ายเป็นงบประมาณรวมมีข้อดี คือ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (อาพล สิงห์โก วินท์, 2541, หน้า 2)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3