การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

30 จากแนวคิดพื้นฐานของการประกันสังคมดังที่ได้นาเสนอมาข้างต้นจะเห็น ได้ว่าการประกันสังคมมีความมุ่งหมายให้ลูกจ้างผู้ประกันตนมีความมั่นคงในเรื่องรายได้สาหรับ ตนเองและครอบครัว ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในยามประสบภัยต่าง ๆ เช่น ประสบ อันตรายเจ็บป่วย ทุพพลภาพ โดยจัดให้ผู้ประกันตนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยได้รับบริการ ทางการแพทย์อย่างเหมาะสม และให้สมาชิกผู้ประกันตนได้มีส่วนร่วมกันเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ในยามที่ลูกจ้างต้องประสบกับปัญหาทั้งกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจาก การทางาน ทุพพลภาพ หรือได้รับความเดือดร้อนเมื่อต้องว่างงาน ชราภาพ รวมทั้งกรณีคลอด บุตรเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่รัฐบาลดาเนินการเพื่อสร้างหลักประกัน และความมั่นคงในชีวิตแก่ประชาชนโดยการจัดเก็บเงินส่วนหนึ่งจากลูกจ้าง มารวมเป็นกองทุน กลาง โดยมีนายจ้างและรัฐบาลออกเงินสมทบด้วย ซึ่งหลักการประกันสังคมดังกล่าวนี้เป็นไป ในทิศทางเดียวกันทั้งการประกันสังคมในประเทศไทยและต่างประเทศ พระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เกิดขึ้นมาจากการเคลื่อนไหวอย่างยาวนานของกลุ่มองค์กรทางสังคม และขบวนการแรงงานไทย จนอนุมัติเป็นกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ทุกขั้นตอนอย่างละเอียด จนประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่ 2 กันยายน พ.ศ. 2533 เป็นต้นมาซึ่งหลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ก็ได้มี การจัดตั้งกองทุนประกันสังคมโดยบริหารจัดการผ่านสานักงานประกันสังคม ซึ่งได้มีการ กาหนดมาตรฐานในการคัดเลือกสถานพยาบาล การจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ สถานพยาบาล ในส่วนของผู้ประกันตนได้มีการขยายความคุ้มครองมากขึ้น จนกระทั่งปัจจุบัน ได้ขยายการคุ้มครองให้ครอบคลุมถึงสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป รวมทั้ง ขยายประโยชน์ทดแทนออกไปถึง 7 กรณีด้วยกัน คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่ เนื่องจากการทางานครอบคลุมถึงอุบัติเหตุด้วย แต่ไม่คุ้มครองถึงครอบครัว กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ กรณีตาย และกรณี ว่างงาน ซึ่งสิทธิประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นสามารถแบ่งตามลักษณะการรับบริการได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรกรับบริการ ณ สานักงานประกันสังคมสาหรับประโยชน์ทดแทนในรูปของตัวเงิน โดยผู้ประกันตนหรือทายาทที่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทน และประเภทที่สอง รับบริการ ณ สถานพยาบาลโดยผู้ประกันตนสามารถรับบริการทางการแพทย์กรณี เจ็ บป่วย ณ สถานพยาบาลที่ระบุตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกไว้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ขณะเดียวกันก็เพิ่มอัตราเงินสมทบที่รัฐบาล นายจ้าง และ ผู้ประกันตนต้องจ่ายสูงขึ้นเช่นเดียวกับจานวนเงินทดแทน (ชรินพร ศรีวิไล, 2551, หน้า 52 - 53) ทั้งนี้ ระบบการเงินการคลังเป็นกลไกที่มีความสาคัญในการขับเคลื่อน พัฒนาบริการสุขภาพของประชาชน เพราะรายได้ส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลมาจากส่วนกลาง โดยผ่านระบบกลไกการจ่ายให้แก่สถานพยาบาลและผู้ให้บริการ ซึ่งใช้รูปแบบและกลไกบริหาร จัดการค่าใช้จ่ายผ่านการเบิกชดเชยค่าบริการโรคร่วมในการรักษาผู้ป่วยใน โดยกลุ่มวินิจฉัยโรค ร่วม (Diagnosis Related Group : DRG) เป็นระบบกลไกการจ่ายเงินเพื่อสุขภาพโดยการ เหมาจ่ายตามรายโรค ซึ่งคานึงถึงความหนักเบาของโรคแต่ละโรคที่แตกต่างกัน จึงเหมาตาม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3